อยากเก่งการเงินต้องเข้าใจมูลค่าเงินตามเวลา (Time value of money – TVM)

ช่วยแชร์ต่อนะครับ

โดยปกติแล้วถ้าให้เลือกระหว่างให้เราได้รับเงิน 100,000 บาทตอนนี้เลยกับได้รับเงิน 100,000 บาทอีก 3 ปีเราจะเลือกทางไหน สำหรับผมจะเลือกเงิน 100,000 บาทในวันนี้ เพราะเราสามารถใช้เงินได้เลยไม่จำเป็นต้องรออีก 3 ปีถึงจะใช้เงินได้

ทำให้เกิดเป็นความคิดหลักการทางการเงินที่ว่าเงินจำนวนเท่ากันแต่มูลค่าของเงินในปัจจุบันจะมากกว่าเงินมูลค่าในอนาคต เงิน 100,000 บาทในวันนี้จะต้องมีมูลค่ามากกว่าเงิน100,000 บาทในอนาคต

ในทางกลับกันถ้าเราจะต้องยอมไม่ได้รับเงิน 100,000 บาทในวันนี้ เราต้องได้รับผลตอบแทนที่มากกว่า 100,000 บาทในรูปของดอกเบี้ยเพื่อชดเชยมูลค่าเงินที่เสียไป

ทำให้เกิดสูตร

FV = Future value of money (มูลค่าเงินในอนาคต)

PV = Present value of money (มูลค่าเงินปัจจุบัน)

i = interest rate (อัตราดอกเบี้ย)

n = number of compounding periods per year (จำนวนครั้งที่คำนวณดอกเบี้ยใน 1 ปี เช่น คิดดอกเบี้ยทุก 6 เดือน จะเท่ากับว่า1ปี คิดดอกเบี้ย 2 ครั้ง)

t = number of years (จำนวนปี)

ยกตัวอย่าง

ถ้าเราให้เลือกระหว่างได้รับเงิน 100,000 บาทในวันนี้กับได้รับเงิน 200,000 บาทในอีก 10 ปีข้างหน้าชดเชยด้วยอัตราดอกเบี้ย 10% ต่อปี เราจะเลือกทางไหนโดยใช้สูตรคำนวณ

วิธีที่ 1 คำนวณว่าเงิน 100,000 บาทในปัจจุบันเมื่อต้องชดเชยด้วยอัตราดอกเบี้ย 10% ต่อปี เงินในอีก 10 ปีข้างหน้าจะเป็นเท่าไหร่

FV = ???

PV = 100,000 บาท

i = 10%

n = 1 ครั้ง

t = 10

FV= 259,374.25 บาท

ดังนั้นเราควรรับเงิน 100,000 บาทตอนนี้ดีกว่าเงิน 200,000 บาทในอนาคตแต่ถ้าเราได้รับเงินมากกว่า 259,374.25 บาทในอีก 10 ปีข้างหน้าเราควรที่จะเลือกเงินในอนาคต

วิธีที่ 2 คำนวณว่าเงิน 200,000 บาทในอีก 10 ปี เมื่อต้องชดเชยด้วยอัตราดอกเบี้ย 10% ต่อปี มูลค่าปัจจุบันจะเท่ากับเท่าไหร่

PV = 77,108.66 บาท

ดังนั้นเราควรเลือกรับเงิน 100,000 บาทในปัจจุบัน แต่ถ้าได้รับเงินน้อยกว่า 77,108.66 บาทในปัจจุบัน เราก็ควรเลือกเงินในอนาคตแทน

เป็นแนวคิดคร่าว ๆสำหรับการใช้แนวคิดมูลค่าเงินตามเวลา (Time value of money – TVM) เราสามารถใช้แนวคิดนี้ในการหาผลตอบแทนการลงทุน หามูลค่าหุ้น คำนวณดอกเบี้ยเงินกู้ได้