Tag: Warrant

Ceiling กับ Floor

เล่นหุ้นต้องเข้าใจกฎเกณฑ์และข้อยกเว้น Ceiling กับ Floor

Ceiling แปลตรงตัวแปลว่า เพดาน เป็นการกำหนดว่าหุ้นควรที่จะมีการซื้อขายภายในวันเพิ่มขึ้นไม่เกิน 30% ของราคาปิดวันก่อน

เช่น

ราคาหุ้น A ปิดที่ 10 บาท

วันต่อมาหุ้นจะซื้อขายหุ้นราคาเกิน 13 บาทไม่ได้

Floor แปลตรงตัวแปลว่า พื้น เป็นการกำหนดว่าหุ้นควรที่จะมีการซื้อขายภายในวันลดลงไม่เกิน 30% ของราคาปิดวันก่อน

เช่น

ราคาหุ้น A ปิดที่ 10 บาท

วันต่อมาหุ้นจะซื้อขายหุ้นราคาต่ำกว่า 7 บาทไม่ได้

Ceiling กับ Floor ก็มีข้อยกเว้นที่จะไม่ให้ใช้กฎเกณฑ์ดังนี้

– หุ้น IPO ที่มีการซื้อขายวันแรก

– หุ้นที่ขึ้นเครื่องหมาย XD XR XS XA ในวันแรก

– หุ้นที่ผ่านมา 15 วันทำการไม่มีมีการซื้อขายเลย

อ่านบทความ:เครื่องหมายหลังชื่อหุ้นที่นักลงทุนต้องรู้

Ceiling กับ Floor ของ Warrant

สำหรับ Warrant จะมีความแตกต่างตรงที่จะใช้ราคาสิทธิการแปลงเป็นหุ้นแม่หรือหุ้นอ้างอิงแทน

เช่น

Warrant หุ้น A ราคาใช้สิทธิที่ 10 บาทต่อหุ้น

ดังนั้นราคาบวกลบ Warrant จะบวกลบไม่เกิน 3 บาทต่อ 1 หน่วย

โดยปกติ Warrant จะราคาถูกกว่าหุ้นหุ้นแม่หรือหุ้นอ้างอิงทำให้ความผันผวนที่คิดเป็นเปอร์เซ็นจึงมากกว่าหุ้นแม่หรือหุ้นอ้างอิง นักเก็งกำไรจึงชอบมากกว่า

อ่านบทความ:Warrant คืออะไร? และเครื่องหมาย XW คืออะไร?

เกร็ดความรู้

การกำหนด Ceiling กับ Floor ทำให้นักลงทุนสามารถทำกำไรได้มากสุดภายในวันจากหุ้นที่ 60% และมีโอกาสขาดทุนได้มากสุด 60%

เปลี่ยนแปลง Ceiling กับ Floor ชั่วคราว

สำหรับวันที่ 18 มีนาคม 63 ถึง 30 มิ.ย. 63 ตลาดหลักทรัพย์ได้กำหนดให้ Ceiling กับ Floor ของหุ้นเหลือแค่ 15%

Warrant คืออะไร? และเครื่องหมาย XW คืออะไร?

การที่บริษัทต้องการเงินทุนเพื่อใช้ไปในการดำเนินงาน ทีนี้บริษัทก็จะมีทางเลือกอยู่ 2 อย่างคือ การหาเงินจากการที่ไปกู้เงินมา หรือ ขอเงินจากผู้ถือหุ้นเพิ่มหรือคนนอกแลกกับจะได้หุ้นเพิ่ม

สำหรับ Warrant ก็คือการที่บริษัทขอเงินจากผู้ถือหุ้นเพิ่ม โดยบริษัทจะออกWarrant มาให้เพื่อนำไปใช้สิทธิแลกเปลี่ยนเป็นหุ้น

เพิ่มทุนผ่าน Warrant ต่างจากเพิ่มทุนทั่วไปอย่างไร

การเพิ่มทุนทั่วไปนั้นเราจะได้สิทธิในการเพิ่มทุน ซึ่งสิทธิตรงนี้ไม่สามารถนำไปส่งต่อได้ แต่ Warrant เราสามารถขายสิทธิให้แก่คนอื่นได้

XW คืออะไร?

XW (Excluding Warrant) คือการที่ตลาดหลักทรัพย์ขึ้นไว้หลังจากที่บริษัทประกาศให้ Warrant แก่ผู้ถือหุ้น และหลังจากที่ขึ้นเครื่องหมาย XW คนที่มีหุ้นจะไม่ได้ Warrant

ตัวอย่าง

ขึ้นเครื่องหมาย XW วันที่ 31 มิ.ย.

นาย A มีหุ้นในวันที่ 30 มิ.ย. แล้วขายหุ้นในวันที่ 31 มิ.ย.

นาย B ซื้อหุ้นวันที่ 31 มิ.ย. 

นาย C ถือหุ้นมาโดยตลอดแล้วขายหุ้นวันที่ 31 มิ.ย.

ใครจะได้รับสิทธิ์รับ XW

คำตอบคือ นาย A เพราะนาย A มีหุ้นจนถึงเช้าวันที่ขึ้น XW

error: Content is protected !!