Tag: Brexit

brexit

BREXITจบแล้ว อังกฤษออกจากสหภาพยุโรปอย่างเป็นทางการ

วันที่ 26 มิถุนายน 2016 ประชาชนอังกฤษได้มีการทำประชามติว่าอังกฤษจะอยู่ในสหภาพยุโรปหรือไม่ หรือเรียกว่า BREXIT นักวิเคราะห์ต่าง ๆทั่วโลกมีความเชื่อมั่นว่าผลการทำประชามติครั้งนี้อังกฤษจะไม่ออกจากสหภาพยุโรป แต่ผลการทำประชามติผิดคาด ประชาขน 51.9% โหวตที่จะออกจากสหาภาพยุโรป 48.1% โหวตให้อังกฤษยังคงอยู่ในสหภาพยุโรป

ถึงแม้ผลการทำประชามติจะช็อคโลกขนาดนี้แต่ ผลของประชาธิปไตยต้องเคารพการทำประชามติ ส่วนหนึ่งของการทำประชามติที่ผลพลิกคาดเกิดจากความกลัวเรื่องแรงงานจากประเทศอื่น ในยุโรปทะลักเข้าประเทศอังกฤษทำให้คนอังกฤษรู้สึกกลัวและหวงแหนความเป็นอังกฤษเอาไว้

หลังจากผลการทำประชามตินายกรัฐมนตรี David Cameron ประกาศลาออกทักที และนายกรัฐมนตรี Theresa May รับช่วงต่อเพื่อเริ่มกระบวนการออกจากสหภายุโรปของอังกฤษ

แต่การทำกระบวนการ Brexit หรือการออกจากสหภาพยุโรปของอังกฤษไม่ได้ทำง่าย ๆ ข้อตกลงของกระบวนการ Brexit ถูกสภาตีตกไปถึง 3 ครั้ง นายกรัฐมนตรี Theresa May สูญเสียเสียงข้างมากในสภา หลังจากนั้น Boris Johnson ได้มารับช่วงต่อเพื่อทำให้การทำ Brexit หรือการออกจากสหภาพยุโรปของอังกฤษประสบความสำเร็จ

สุดท้ายแล้วอังกฤษก็ออกจากสหภาพยุโรปได้สำเร็จหลังจากเป็นสมาชิกถึง 47 ปี เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญทางเศรษฐกิจ การเมืองของยุโรป

กระบวนการ Brexit ใช้เวลาถึง 3 ปีครึ่งถึงจะสำเร็จ สร้างความโกลาหลระหว่างการเมือง เศรษฐกิจ ความตึงเครียดระหว่างอังกฤษและสหภาพยุโรป

การออกจากสหภาพยุโรปของอังกฤษเริ่มอย่างเป็นทางการแล้ว เมื่อ 31 มกราคม 2022เป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนผ่าน อังกฤษยังคงอยู่ในสมาชิก Single market ของสหภาพยุโรป หมายถึงมีการใช้สินค้า บริการ เงินทุนอย่างเสรีระหว่างอังกฤษและประเทศสมาชิกอยู่และยังคงเป็นสมาชิกศุลกากรยุโรปอยู่ แต่อังกฤษไม่มีสิทธิในการโหวตในสหภาพยุโรป ถึงแม้อย่างนั้นอังกฤษก็ยังอยู่ภายใต้กฎของสหภาพยุโรป

รัฐบาลอังกฤษตั้งเป้าหมายไว้ว่าการตกลงทั้งหมดจะจบภายในสิ้นปี 2020 ไม่อย่างนั้นอังกฤษจะออกจากตลาดยุโรปโดยไม่มีข้อตกลงอะไร ต้องกลับไปใช้กฎองค์กรการค้าโลก

ถึงแม้อังกฤษจะยังคงเป็นสมาชิกของ Single market ของสหภาพยุโรปแต่เหลือเวลาอีกไม่นานเพราะจะสิ้นสุดในปี 2020

เป็นอะไรที่ท้าทายมากที่อังกฤษและยุโรปจะทำข้อตกลงทางการค้าให้สำเร็จภายในปีเดียว อังกฤษจะทำได้ดีแค่ไหนในการทำข้อตกลงทางการค้าให้อังกฤษได้ประโยชน์สูงสุด คงไม่ง่ายเสียทีเดียวที่สหภาพยุโรปจะปล่อยให้ประเทศอังกฤษได้เปรียบจากการออกจากสหภาพยุโรป อังกฤษจะสูญเสียสิทธิประโยชน์จากการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปจำนวนมาก

WTO คาดการณ์เศรษฐกิจ

WTO คาดการค้าโลกลดลงเหลือ 1.2% น้อยที่สุดในรอบ 10 ปี

WTO (World trade organization) ลดเป้าหมายการการเจริญเติบโตของการค้าลงจาก 2.7% เหลือเพียง 1.2% ในปีนี้ (2019) น้อยสุดในรอบทศวรรษ และยังลดเป้าหมายการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจลงจาก 2.6% เหลือ 2.3%

WTO (World trade organization) ให้เหตุผลหลักๆของการลดเป้าหมายการค้าและเป้าหมายเศรษฐกิจลงด้วยเหตุผลสองอย่างคือ

  • สงครามการค้าจีนและสหรัฐ
  • Brexit

ปัญหาสงครามการค้าจีนสหรัฐ

ปัญหาสงครามการค้าจีนและสหรัฐนั้น ส่งผลอย่างมากกับเศรษฐกิจโลก เพราะทั้งสองประเทศเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ระดับต้น ๆ ของโลก ปัญหาการกระทบกระทั่งเรื่องการค้าของทั้งสองย่อมส่งผลต่อการค้าประเทศอื่น ๆ ด้วย และดูเหมือนยังไม่จบง่ายๆในเร็ววันนี้ โดยทางการจีนพยายามที่จะให้ยืดเยื้อออกไปจนกว่าจะมีการเลือกตั้งใหม่ในสหรัฐ เพื่อที่จะได้ประธานาธิบดีคนใหม่ที่มีโอกาสเปลี่ยนแปลงนโยบายการค้า

BREXIT

Brexit คือการที่ทางประเทศอังกฤษต้องการแยกตัวออกจากสมาชิกสหภาพยุโรป โดยการทำประชามติเมื่อสามปีที่แล้ว และผลปรากฎว่า จากการทำประชามติอังกฤษจะออกจากสหภาพยุโรป แต่สิ่งที่ไม่คาดคิดก็ตามมา สำหรับการที่จะออกจากสหภาพยุโรปโดยที่ไม่ต้องสูญเสียเรื่องเศรษฐกิจไปนั้นเป็นเรื่องที่ยาก ทำให้เศรษฐกิจในฝั่งยุโรปเองก็เกิดปัญหาเช่นกัน

ผู้อำนวยการ WTO​ ได้ให้สัมภาษณ์ว่า

“การคาการณ์ที่มือมนสำหรับการค้าทำให้เรารู้สึกสิ้นหวังแต่มันไม่ใช่สิ่งที่ผิดคาด”

“การแก้ไขปัญหาข้อตกลงทางการค้าจะทำให้สมาชิก WTO หลักเลี่ยงต้นทุนที่สูงได้”

สำหรับประเทศไทยเองเป็นประเทศหนึ่งในสมาชิก WTO สิ่งที่ WTO คาดการณ์การณ์นั้น ประเทศไทยก็ต้องเก็บเป็นข้อมูลไว้ เพื่อที่จะกำหนดนโยบายเศรษฐกิจต่อไป นอกจากข้อมูลคาดการณ์การค้าของ WTO แล้ว ตอนนี้สิ่งที่อยากให้รัฐบาลใส่ใจ ก็คือเรื่องของค่าเงินบาทที่แข็งค่าตอนนี้ ที่ส่งผลกระทบต่อความได้เปรียบของคู่แข่งในการค้าระดับโลก

Theresa May เสนอให้มีการทำประชามติข้อตกลง BREXIT รอบสอง

BREXIT ตั้งแต่ผ่านการโหวตมาแล้วทำให้อังกฤษมีแต่เจอปัญหา ข้อตกลงต่างๆไม่สามารถทำให้พึงพ่อใจได้ทั้งฝ่ายรัฐบาลเองและฝ่ายพรรคแรงงาน ทำให้การโหวตที่ผ่านมาไม่สามารถผ่านสภาไปได้ และตอนนี้เองนอกจากปัยหาในประเทศแล้วอังกฤษยังคงได้รับผลสครามการค้าด้วย

นายกรัฐมนตรีอังกฤษกล่าวไว้ถ้าสมาชิกสภาสนับสนุนร่างกฎหมาย ข้อตกลงการถอนตัวอังกฤษออกสหภาพยุโรป ซึ่งจะตามมาด้วยการโหวตเพื่อยืนยอมให้มีการทำประชามติในการข้อตกลงสุดท้าย

Theresa May ได้ให้ได้แถลงไว้

 “ฉันยอมรับความรู้สึกที่แท้จริงและบริสุทธิ์ในสภาในประเด็นสำคัญนี้”

“รัฐบาลได้เสนอการโหวตเพื่อนำไปสู่การประชามติรอบสองในร่างกฎหมายการถอนตัว”

 “ดังนั้นสมาชิกสภาที่ต้องการประชามติรอบสองเพื่อยืนยันข้อตกลง ต้องทำให้ร่างกฎหมายการถอนตัวเกิดขึ้น”

การยืนยันผ่านการประชามติจะทำให้สมาชิสภาพรรคแรงงานสนับสนุนการออกกฎหมายผ่านร่างกฎหมาย ถึงแม้นายกรัฐมนตรีจะคิดว่ามีโอกาสน้อย

การโหวตครั้งล่าสุดที่ทำให้การประชามติครั้งสุดท้าคะแนนออกมาที่ 292 ต่อ 280 และ 66 คะแนนงดออกเสียง

ตั้งแต่การโหวตได้ชะงักไว้ในเดือนมีนาคม ทำให้สมาชิกสภาพรรคอนุรักษ์นิยมมีความคิดเกี่ยวกับการประชามติรอบสอง โดยวิปพรรคแรงงานสนับสนุนให้เกิดขึ้น

แผนของนายกรัฐมนตรี ได้จากการที่สมาชิกสภาหลายๆคนได้มีการร้องขอให้มีการสนับสนุนข้อตกลง หลังจากที่โดนปฏิเสธมาแล้วสามครั้ง ข้อตกลงนี้รวมถึงความต้องการให้อังกฤษปฏิบัติตามยุโรปในเรื่องสิทธิแรงงานและการดูแลสภาพแวดล้อม และไม่ปิดกั้นการให้โอกาสสภาในการทำข้อตกลงในอนาคต

ข้อตกลงอื่นๆของฝ่ายแรงงาน นายกรัฐมนตรีสัญญากับสมาชิกสภาในการโหวตเพื่อเลือกระหว่าง แผนเพื่อลดการขัดแย้งทางการค้ากับยุโรปในขณะที่จะยังคงสหภาพศุลกากรไว้ กับ แผนทีจะคงสหภาพศุลกากรไว้ชั่วคราวสำหรับสินค้า

คณะรัฐมนตรียังคงพูดคุยกันอย่างดุเดือดเมื่อวันอังคารเกี่ยวกับแผนใหม่ สมาชิกสภาหลายๆคนมองว่ามีโอกาสเล็กน้อยที่จะทำให้สภาสนับสนุนข้อตกลงและโอกาสที่ Theresa May จะรักษาสัญญา ที่จะลาออกถ้าแผนของเธอถูกโหวตไม่ผ่านอีก

หัวหน้าฝ่ายแรงงานได้พูดว่าคณะกรรมการได้รับข้อเสนอโดยรัฐบาลในการพูดคุยกันระหว่างสองพรรคในเรื่องของสหภาพศุลกากร แต่ยังไม่คืบหน้ามากพอ

ร่างกฎหมายพันธสัญญากับยุโรปรวมถึงการเปลี่ยนจากอังกฤษยังคงอยู่ในสหภาพศุลกากรจนกระทั่งปี2020 ขยายไปในปี 2022 แต่ Theresa May ยังคงมความหวังว่าฝ่ายพรรคแรงงานจะสนับสนุนให้กฎหมายผ่าน

ต้องรอดูต่อไปครับว่าข้อเสนอของ Theresa May จะผ่านสภาหรือไม่ ในขณะที่ความเชื่อมั่นในรัฐบาลอังกฤษทั้งคนในประเทศและคนต่างประเทศเอง น้อยลงไปเรื่อยๆ การลงทุนต่างๆชาติไม่สามารถรอความไม่ชัดเจนได้การย้ายฐานการเงิน การผลิตต่างๆออกจากอังกฤษมีต่อเนื่องเรื่อยๆ

ที่มา

https://www.ft.com/content/6ef8bcec-7bc4-11e9-81d2-f785092ab560

https://www.theguardian.com/politics/2019/may/21/may-offers-mps-vote-on-second-referendum-in-new-brexit-deal

https://www.theguardian.com/politics/live/2019/may/21/brexit-latest-news-developments-cabinet-to-discuss-latest-brexit-offer-to-mps-as-ministers-feud-in-public-over-no-deal-live-news

error: Content is protected !!