เจาะลึกเครื่องมือทางเทคนิค Stochastic Oscillator
Stochastic Oscillator ถือเป็นเครื่องมือทางเทคนิค ในการหาจังหวะซื้อหุ้นที่มีลักษณะของ Momentum โดนใช้การคำนวณจากราคาปิดของหลักทรัพย์ มีการใช้แนวรับ – แนวต้านใน Indicator ชนิดนี้ด้วย
สำหรับคคิดค้นเครื่องมือ Stochastic Oscillator ต้องยกความดีความชอบให้กับ George Lane ซึ่งได้คิดค้นในปลายยุค 1950 โดยการคำนวณราคาปัจจุบัน เปรียบเทียบกับช่วงราคาที่ผ่านมาช่วงหนึ่ง โดยพยายามทึี่จะคาดการณ์ถึงจุดกลับตัวของราคา
เริ่มต้นเรามาดูสูตรคำนวณสำหรับ Stochastic Oscillator กันเลยดีกว่า
High = ราคาสูงสุดใน 5 วัน
Low = ราคาต่ำสุดใน 5 วัน
Price = ราคาปิดวันล่าสุด
*** เราสามารถเปลี่ยน ช่วงเวลา 5 วันเป็นจำนวนวันอื่นๆได้เช่น 14 วัน ก็จะเป็นการหาราคาสูงสุดและต่ำสุด เท่านั่้นเอง
เมื่อเราจะได้ค่าทั้งหมดเราจะได้ค่า %K ออกมา
สำหรับ %D ให้เราคิดง่าย ๆ มันก็คือเส้น Moving average นั่นเอง
หลักการตีความ Stochastic Oscillator นั้นจะแบ่งด้วยกัน 2 ส่วน
- หลักการ Overbought – Oversold
- หลักการใช้ %D
หลักการ Overbought – Oversold
ก็คือการที่เราจะซื้อหุ้นหลักทรัพย์โดยการซื้อหุ้นหรือหลักทรัพย์ เมื่อหุ้นหรือหลักทรัพย์ราคาลงมาต่ำกว่า Oversold หรือค่า %K ที่ 20 และขายหุ้นเมื่อ Overbought หรือ % K มากกว่า 80นั่นเอง
หลักการใช้ %D
เราจะใช้ % D ในการหาแนวโน้มของ %K เราซื้อหุ้นหรือหลักทรัพย์เมื่อ %K มากกว่า %D และขายหุ้นหรือหลักทรัพย์เมื่อ %K น้อยกว่า %D
เราสามารถนำทั้งOverbought – Oversold และ %D มารวมกันได้
เราจะซื้อหุ้นหรือหลักทรัพย์เมื่อ %K น้อยกว่า 20 และ มีค่ามากกว่า %D
เราจะขายเราจะซื้อหุ้นหรือหลักทรัพย์เมื่อ %K มากกว่า 80 และ มีค่าน้อยกว่า %D

สำหรับตัวอย่างคือ หุ้น PTT
เส้นกรอบข้างล่างคือ Stochastic Oscillator คำนวณโดยการใช้ค่า 14 วัน
เส้นระหว่างสีม่วงข้างบนคือค่า 80 ข้างล่างคือค่า 20
เส้นสีน้ำเงินคือ %K
เส้นสีแดงคือ %D
เพื่อนๆสามารถลองฝึกหาจุดซื้อและจุดขายจากการใช้ Stochastic Oscillator ทั้งสาม วิธีดูครับ