เจาะลึกแนวคิด Reinventing ของ Osborne และ Gaebler

ช่วยแชร์ต่อนะครับ

แนวคิด Reinventing เป็นแนวคิดในการปฏิรูประบบราชการของสหรัฐอเมริกาโดยผู้คิดค้นก็คือ David Osborne และ Ted Gaebler ระบบราชการแต่เดิมเนี่ยเป็นระบบที่ล่าช้า ต้องมีกฎนู่นนี่นั่นมากมายเกินไป แถมการบริหารก็เป็นอำนาจจากส่วนกลางอีก ทั้งๆที่รู้อยู่แล้วว่า แต่ะละพื้นที่มีความต้องการบริหารแตกต่างกันไปอย่างสิ้นเชิง วันนี้เราเลยจะมาพูดถึงแนวคิด Reinventing 10 หัวข้อในการปฎิรูประบบราชการ

รัฐเป็นผู้กำกับดูแลมากกว่าเป็นผู้ปฏิบัติเสียเอง (Catalytic Government Steering)

รัฐบาลไม่มีความจำเป็นต้องทุ่มเท ทรัพยากร ต่างๆเพื่อใช้ในดำเนินกิจกรรมเพื่อให้ตอบสนองการให้บริการประชาชน แต่รัฐสามารถที่จะให้ประชาชน รวมหนึ่งหน่วยงานเอกชนดำเนินการเอง ในยุคปัจจุบันต้องยอมรับว่าศักยภาพของภาคเอกชนเติบโตกว่าเมื่อก่อนมาก รัฐมีความจำเป็นน้อยลงที่จะเข้าไปดำเนินการเอง หน้าที่ของรัฐบาลจริงๆแล้วคือการที่ออกนโยบาย การผลิตต่างๆต้องยอมรับว่าไม่สามารถสู้เอกชนได้ การผลิตต่างๆนั้นถ้าเอกชนดูแลจะสามารถตอบสนองประชาชนได้ดีในฐานะลูกค้า

ชุมชนเป็นเจ้าของรัฐบาล (Community-owned government)

เราจะสังเกตุได้ว่าการดำเนินการต่างๆ จะดำเนินโดยรัฐส่วนกลาง ดำเนินทางนโยบายจากส่วนกลาง และยังส่งคนจากส่วนกลางไปดูแลพื้นที่ แต่ปัญหาก็คือในแต่ละชุมชนมีอัตลักษณ์ เอกลักษณ์แตกต่างกันทำให้นโยบายจากส่วนกลางและเจ้าหน้าที่จากส่วนกลางไม่ได้ตอบสนองความต้องการของประชาชนที่แท้จริง ดังนั้นประชาชนควรมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการในชุมชนของพวกเขาเอง เมื่อมีปัญหาต่างๆในชุมชนจะสามารถแก้ปัญหาด้วยความรวดเร็ว รัฐเพียงแต่สนับสนุนด้วยเงินทุน กฎระเบียบเอื้ออำนวยต่อการทำงานของพวกเขา

การแข่งขันการให้บริการสาธารณะของรัฐบาล (Competitive government)

การที่ให้บริการประชาชนในฐานะการผูกขาด (Monopoly) ทำให้ไม่เกิดการตื่นตัวในการพัฒนา ประชาชนไม่มีทางเลือกที่จะไม่ใช้บริการ ไม่ว่าจะบริการแย่แค่ไหน ด้วยต้นทุนสูงแค่ไหนก็ไม่มีความจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลง สำหรับการแข่งขันการให้บริการนั้นไม่มีความจำเป็นต้องยกให้เอกชนทำทั้งหมด รัฐสามารถพลักดันให้เอกชนดำเนินการและรัฐทำควบคู่ไปด้วย ยกตัวอย่างคือ การดำเนินการของไปรษณีย์ ที่แต่เดิมไม่มีคู่แข่ง แต่เมื่อมีคู่แข่งเป็นเอกชนต่างๆเข้ามาร่วมให้บริการ ทำให้ไปรษณีย์ต้องมีการพัฒนาปรับตัวได้ค่อนข้างดี สำหรับการแข่งขันนั้นไม่เพียงแต่ส่งเสริมการแข่งขันการให้บริการ การแข่งขันสามารถทำได้ทางอื่นด้วยเช่นการส่งเสริมการประมูลงานรัฐเพื่อให้มีการแข่งขันกัน และรัฐได้ประโยชน์สูงสุด

การขับเคลื่อนด้วยภารกิจมากกว่ากฎระเบียบของราชการ (Mission-driven government)

ในบางครั้งราชการมักจะมีกฎระเบียบมากเกินไปทำให้ข้าราชการเองมักจะไม่ทำงานเกินหน้าที่ จนเห็นว่ามีการเน้นกฎระเบียบมากกว่าหน้าที่ในการให้บริการประชาชนเสียอีก ความล่าช้าในช่วงเร่งด่วนส่งผลอย่างมากยิ่งในช่วงสภาวะวิกฤติ อย่างเช่นในการระบาดของเชื้อโรค ทำให้ประชาชนบาดเจ็บจำนวนมาก ในสภาวะวิกฤติ สิ่งที่ต้องการก็คือความรวดเร็ว ระเบียบราชการมีปัญหาอย่างมากในเรื่องความล่าช้า

การเน้นผลลัพธ์ของระบบบราชการ (Results-oriented government)

การเน้นผลลัพธ์มากกว่าของรัฐบาลเป็นการดูถึงปัจจัยเรื่องของผลผลิตจากการดำเนินการรัฐบาล เช่น การที่มีอาชญากรรมต่ำลง สุขภาพประชาชนดีขึ้น การศึกษาสูงขึ้น การทำงานของราชการเองควรที่จะมีการประเมินผลลัพธ์จากการทำงานของแต่ละหน่วยภารกิจ ไม่ควรที่จะให้ราชการทำงานแบบเช้ายามเย็นชาม

ตอบสนองประชาชนในฐานะลูกค้ามากกว่าสนองต่อระบบราชการ (Customer-driven government)

การให้บริการแก่ประชาชนนั้นหากแต่เดิมเรามองว่าเป็นประชาชนทั่วไปจะทำให้เรา ไม่มีความกระตือรือร้นในการให้บริการมากเท่าที่ควร แต่เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงให้ แต่เมื่อมองเป็นลูกค้า เราจะพยายามให้ลูกค้าประทับใจเพื่อให้มีการบอกต่อและใช้ซ้ำบริการของเรา แทนที่อื่น เช่น โรงพยาบาล หากมีการประเมินงบประมานตามการเข้ารับการบริการของประชาชนโดยไม่มีจำกัดในเรื่องพื้นที่ ทำให้การจัดสรรงบประมานจะไปอยู่ที่โรงพยาบาลที่สามารถให้บริการได้ดีกว่าแทนนั่นเอง ทำให้โรงพยาบาลดูแลประชาชนได้ดีขึ้นกว่าเดิม

การมุ่งเน้นการหารายได้มากกว่ารายจ่าย (Enterprising government)

ราชการสามารถที่จะหารายได้เพื่อนำมามาดำเนินการของรัฐ แทนที่จะทำเพียงแต่การขึ้นภาษี เช่น ที่ดินของหน่วยงานรัฐวิสาหกิจบางที่ที่มีมูลค่ามหาศาล แต่ว่าไม่สามารถนำมาหารายได้เท่าที่ควรทำให้รัฐวิสาหกิจนั้นขาดทุนโดยที่มีทรัพย์สินจำนวนมาก

เน้นการป้องกันไม่ให้เกิดปัญหามากกว่ามาแก้ไขทีหลัง (Anticipatory government)

การแก้ไขปัญหามักจะเกิดความเสียหายแล้ว แต่การป้องกันนั้นยังไม่เกิดความเสียหาย ควรคาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นและเตรียมการป้องกันอย่างดี มีการวางแผนเชิงกลยุทธ์เพื่อที่จะป้องกันสิ่งต่างๆไม่ให้เกิดขึ้นโดยการตั้งคณะกรรมการในการเตรียมตัวสิ่งที่จะเกิดในอนาคต นอกจากนี้ยังต้องมีการเตรียมตัวสำหรับสิ่งที่ไม่คาดถึงเข่น อุทกภัย อัคคีภัย การเตรียมวัสดุอุปกรณ์จึงมีความจำเป็น

การประจายอำนาจการตัดสินใจของรัฐบาล (Decentralized government)

การทำงานของราชการควรมีความยืดหยุ่น การทำงานหากผู้ปฎิบัติงานมีอำนาจการตัดสินใจที่ต่ำลงแล้ว จะทำให้การตัดสินใจในการทำงานล่าช้าลงอย่างมาก นอกจากนั้นแล้วการไม่ให้อำนาจในการตัดสินใจต่างๆ จะทำให้ไม่สามารถดึงศักยภาพของบุคลากรมาดำเนินได้อย่างเต็มที่

มุ่งเน้นการตลาด (Market-oriented government)

ควรมององค์ประกอบการดำเนินการให้บริการของรัฐด้วยมุมมองทางการตลาด มีการใช้กลไกทางตลาดเพื่อตอบสนองต่อความต้องการประชาชนได้อย่างดี