RAY DALIO ตำหนิความเหลื่อมล้ำในอเมริกาและแนวทางแก้ปัญหา PART 1

ช่วยแชร์ต่อนะครับ

แนะนำให้อ่าน Part Intro ก่อนครับ:
https://www.peniaphobia.com/economy/offshore-economy/ray-dalio-american-gaps-intro/

ผมมาจากไหน

ผมโชคดีที่เกิดมาในครอบครัวที่มีฐานะปานกลาง เลี้ยงดูโดยครอบครัวที่ดี ให้การศึกษาที่ดีทำให้สามารถหางานที่ดีทำได้ นี่คือ American Dream (ทุกคนมีความเท่าเทียมกันในการไขว่คว้าสิ่งที่ต้องการ) ในเวลาที่ทุกคนและผมเชื่อว่า พวกเราในฐานะกลุ่มคนที่ต้องพยายามเพื่อได้มาของบางอย่าง เช่น การศึกษา และ โอกาสทำงาน นั่นคือ ความเท่าเทียมกันของโอกาสที่คนส่วนใหญ่เชื่อว่าเท่าเทียมกันและมีประสิทธิภาพ

ผมคิดว่าผมเป็นนักทุนนิยมตั้งแต่อายุ 12 ปี เพราะว่า เมื่อผมหาเงินจากการทำงานที่หลากหลาย เช่นส่งหนังสือพิมพ์ รับจ้างตัดหญ้า เป็นแคดดี้ และนำเงินไปลงทุนในตลาดหุ้นที่กำลังร้อนแรงในยุค 1960 ทำให้ผมติดใจเกมส์การลงทุน ถึงแม้ผมจะไม่มีเงินที่จะจ่าค่าเทอมในมหาวิทยาลัยแต่ผมก็ได้เรียนมหาวิทยาลัยและจบการศึกษา จากเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาจากรัฐบาล หลังจากนั้นผมเข้าสู้ตลาดแรงงาน ที่มอบโอกาสให้ผม

ผมรักการลงทุน ผมเลือกที่จะเป็นนักลงทุนในสไตล์ Global Macro (ใช้ข้อมูลเศรษฐกิจในการลงทุน) และใช้สไตล์นี้ในการลงทุนมากกว่า 50 ปี ทำให้ผมมีความเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับการทำงานของตลาดและระบบเศรษฐกิจ ผมมีประสบการณ์เกี่ยวกับทุกระบบเศรษฐกิจ ทำให้ผมมีความสามารถในการทำเงิน เก็บเงินและนำไปลงทุน ทำให้เป็นแรงผลักดันให้กับผู้คน เพราะมันให้ผลตอบแทนสำหรับคนที่ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพสามารถนำเงินไปใช้จ่ายในสิ่งต่างๆได้ นี่คือการจัดสรรทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพเพราะ การสร้างผลตอบแทนต้องการกระบวนการสร้างมากกว่าทรัพยากรที่ใช้ในการสร้าง ทำให้พวกเขาสามารถสร้างผลตอบแทนและมีโอกาสได้รับเงินทุน นี่คือกระบวนการทางการทำงานของทุนนิยม ที่ช่วยปกป้องเงินสำหรับคนที่รู้จักเก็บออม และสามารถนำเงินไปต่อยอดและสร้างกำไรได้สำหรับคนที่มีความคิดสร้างสรรค์

เป็นเวลาหลายปี ผมเห็นระบบคอมมิวนิสต์มาและก็ไป และเห็นหลายประเทศสามารถดำเนินระบบเศรษฐกิจให้เป็นไปได้ด้วยดีรวมทั้งระบบคอมมิวนิสต์จีน ด้วยระบบทุนนิยมมาเป็นส่วนหนึ่งของระบบเศรษฐกิจของประเทศนั้นๆ

ปรัชญาคอมมิวนิสต์ “from each according to his ability, to each according to his needs” แต่ล่ะคนทำงานเต็มความสามารถ และนำสิ่งที่ได้มาให้แต่ล่ะคนที่จำเป็นต้องใช้ ทำให้ทุกคนไม่มีแรงผลักดันในการทำงานหนักถ้าเราไม่ได้ผลตอบแทนที่เท่าเทียมกับที่ทำลงไป

ระบบทุนนิยมเป็นการประสานระหว่างการผลิตและการสร้างระบบตลาดเงินทุนอย่างมีประสิทธิภาพ ที่ทำให้คนรู้จักอดออมและนำเงินไปใช้ในการผลิตและการทำงานที่ดีกว่าได้

ผมศึกษาอะไรที่ทำให้ประเทศประสบความสำเร็จหรือล้มเหลวโดยใช้มุมมองกลไกการทำงานมากกว่าความคิดแบบมโนคติ เพราะผมสามารถที่จัดการกับระบบเศรษฐกิจและตลาด โดยใช้วิธในทางปฏิบัติที่ผมสามารถทำได้ดีที่ผ่านมา

ถ้าผู้อ่านสนใจเกี่ยวกับบทวิจัยผลลัพธ์ที่ทำให้ประเทศล้มเหลวและประสบความสำเร็จสามารถคลิก Link ได้เลยครับ https://economicprinciples.org/downloads/ray_dalio__how_the_economic_machine_works__leveragings_and_deleveragings.pdf#page=25

สรุปคร่าวๆ การศึกษา วัฒนธรรม(สิ่งที่กีดขวางผู้คนให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ) ระบบโครงสร้างพื้นฐานที่แย่ และมีหนี้สินมากเกินไป ก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่แย่กับระบบเศรษฐกิจเช่นกัน

ระบบเศรษฐกิจที่ดีย่อมมีพื้นฐานมาจาก

1. โอกาสที่เท่าเทียมกันในการศึกษาและงาน

2. ครอบครัวที่ดีที่คอยสนับสนุน

3. โครงสร้างความคิดของคนที่มองว่าทุกคนมีความเท่าเทียมกัน

4. การจัดการที่ดีในด้านกฎหมายและอิสรเสรีของตลาดสินค้า บริการ แรงงาน และเงินทุน ที่จ่ายผลตอบแทนที่ดี สนับสนุนการออม และโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้

ผมเฝ้าติดตามอย่างย่างใกล้ชิดในหลายๆประเทศโดยเฉพาะในสหรัฐ ตอนนี้ผมจะแสดงให้เห็นว่า ระบบทุนนิยมไม่ได้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพสำหรับคนอเมริกา

ทำไมผมถึงเชื่อว่าระบบทุนนิยมยังทำงานไม่ค่อยดีสำหรับคนอเมริกัน

ผมอยากจะแสดงความแตกต่างระหว่างสิ่งที่มีและสิ่งที่ไม่มี เพราะความแตกต่างนี้ซ่อนอยู่ในค่าเฉลี่ย ผมแยกคนออกเป็นสองกลุ่ม กลุ่มที่มีรายได้สูง 40% และ กลุ่มที่มีรายได้ต่ำ 60%

รายได้ของคนส่วนใหญ่ไม่เติบโตหรือโตน้อยเป็นเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมา รายได้ของคนของคนส่วนใหญ่ 60% ไม่เติบโตเลย (ปรับเรื่องเงินเฟ้อ) ตั้งแต่ปี 1980 แต่สำหรับคนที่มีรายได้  Top 10% กลับมีรายได้เพิ่มขึ้นเท่าตัว และ Top 1% มีรายได้เพิ่มขึ้นสามเท่าตัว

คนที่มีรายได้มากกว่าพ่อแม่ลดลงจาก 90% ในปี1970 เหลือ 50% ในวันนี้

ความเหลื่อมล้ำของรายได้สูงเทียบเท่ากับปี 1930 ทรัพย์สินของคน 1% มากกว่าทรัพย์สินของคน 90% เท่ากับช่วงปี 1935-1940 (ประเทศส่วนใหญ่มีปัญหาความขัดแย้งทักภายนอกและภายใน)และคนรายได้สูง 40% มีทรัพย์สินเป็น 10 เท่าของ ของคนรายได้ได้ต่ำ 60% เพิ่มขึ้น 6เท่านับแต่ปี 1980

จากรูปคนส่วนน้อยรายได้เติบโต ผู้อ่านลองดูสิครับถ้าเราอยู่ในอเมริกาเราจะอยู่ในกราฟอันไหน

ผู้คนส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่ม60%มีฐานะยากจก มีเพียง 1/3 ของกลุ่มคน60% มีเงินเก็บหรือมีทรัพย์สินทางการเงิน จากการศึกษาของ Federal Reserve พบว่า 40%ของคนอเมริกาไม่มีเงินสำหรับเหตุการณ์ฉุกเฉิน

ผู้คนมีโอกาสลืมตาอ้าปากยากขึ้น จากข้อมูลโอกาสที่คนมีรายได้ต่ำจะขยับขึ้นเป็นคนที่มีรายได้ปานกลางลดลง จากโอกาส 23% ในปี 1990 เหลือเพียงโอกาส 14% ในปี 2011

คนที่มีรายได้ต่ำมีโอกาส 40% มีพ่อที่รายได้ต่ำ แต่คนที่มีรายได้สูงมีโอกาสเพียง 8%ที่มีพ่อรายได้ต่ำ ผู้อ่านคงคิดว่าเกี่ยวอะไรกันลองดูข้อมูลถัดไปครับ

การเติบโตของรายได้ มาจากการเติบโตของการผลิต การเติบโตของผลผลิตมาจากการพัฒนาคน ดังนั้นเรามาดูการพัฒนาคน เรามาเริ่มต้นด้วยเด็กกัน

สำหรับผม สิ่งที่ผมรับไม่ได้มากที่สุด คือระบบของเราล้มเหลวในการดูแลเด็กๆ อย่างที่พูดมาก่อนหน้านี้เด็กส่วนใหญ่ยากจน อ่อนแอ(ร่างกายและจิตใจ) ขาดการศึกษาที่ดี ตอนนี้มีเด็ก 17.5% มีฐานะยากจนซึ่งไม่มีการพัฒนาที่ดีขึ้นเป็นเวลาหลายสิบปี เด็กประมาณ 17% ไม่มีอาหารการกินที่ดี เพราะพ่อแม่ไม่มีเงินเพียงพอที่จะซื้อ Unicef รายงานว่า สหรัฐเป็นประเทศที่เด็กไม่มีอาหารการกิจที่ดีต่ำกว่าค่าเฉลี่ย ผลลัพธ์ที่ต้องจ่ายด้วยราคาค่อนข้างแพง คือ  จะไม่มีการสนับสนุนโรงเรียน ทำให้ครอบครัวที่ไม่แข็งแรง ทำให้เด็กไม่ประสบความสำเร็จในการเรียน ทำให้เกิดการผลิตที่ตกต่ำ รายได้ต่ำ และสุดท้ายเป็นภาระสังคม

ระบบการศึกษาในสหรัฐถ้าเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้ว สหรัฐต่ำกว่ามาตรฐาน ผล PISA SCORE สหรัฐอยู่ในอันดับที่ 15 ของประเทศที่พัฒนาแล้ว

 PISA score สำหรับโรงเรียนที่ยากจนผลคะแนน PISA ออกมาเพียง 25% เทียบกับโรงเรียนที่รวย

ถ้าเทียบกับในประเทศที่พัฒนาแล้ว สหรัฐมีปัญหาเรื่องความขาดแคลนบุคลากรทางกาศึกษาสำหรับโรงเรียนผู้ด้อยโอกาส เมื่อเทียบความแตกต่างโรงเรียนธรรมดากับ โรงเรียนสำหรับเด็กด้อยโอกาสสหรัฐมีความแตกต่างกัน อันดับเกือบรองสุดท้าย จากสถิติแสดงถึง สหรัฐให้ความสนใจเกี่ยวกับสิ่งจำเป็นสำหรับนักเรียนยากจนน้อยเกินไปเมื่อเทียบกับประเทศอื่น


สหรัฐเป็นประเทศที่มีอัตรานักเรียนยากจนที่สุดเมื่อเทียบกับกลุ่มประเทศOECD เด็กด้อยโอกาสมีโอกาสเข้าโรงเรียนอนุบาลเพียง 1 ปี น้อยกว่าค่าเฉลี่ยประเทศ OECD การศึกษาที่ไม่ดีทำให้การเตรียมตัวเข้าสู่ตลาดแรงงานไม่ดีและมีปัญหาเกี่ยวกับอารมณ์กลายเป็นคนที่มีพฤติกรรมอันตราย นักเรียนด้อยการศึกษาในสหรัฐมีปัญหาในการจัดทำรายงานข้อมูลเกี่ยวกับสภาพสังคมและอารมณ์มากกว่าประเทศพัฒนาแล้วอื่นๆ

นักเรียนโรงเรียนที่ร่ำรวยมีการโดดเรียนเพียง10% เมื่อเทียบกับโรงเรียนยากจน มีถึง 34% ไม่เว้นแม้แต่เขต Connecticut ซึ่งเป็นร่ำรวย มีนักเรียน 22% ไม่ใส่ใจการเรียนและไม่ออกจากการเรียนไป และนักเรียนที่ออกจากการเรียนมีโอกาส5เท่าเทียบกับนักเรียนทั่วไปที่จะจบชีวิตในคุกหรือติดยา

ภาพแสดงความสัมพันธ์ในเขต Connecticut ถ้านักเรียนยากจนเพิ่มขึ้น 1 คนจะทำให้คนจบม.ปลายน้อยลง 1 คน

ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้จ่ายเพื่อการศึกษากับผลคะแนน

ผลการวิจัยล่าสุดเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบได้รับ Food Stamps(บัตรคูปองอาหารให้แก่เด็กยากจน) จะทำให้สุขภาพแข็งแรงและผลคะแนนดี นอกจากนั้นยังเพิ่มโอกาสจบม.ปลายอีก18% ทำให้มีโอกาสพึงพาสวัสดิการในอนาคตน้อยลง

นักเรียนที่มาจากครอบครัวยากจน(รายได้ต่ำกว่า20,000 เหรียญ) มีผลคะแนนSATต่ำกว่ามาตรฐาน เทียบกับครอบครัวร่ำรวย(รายได้มากกว่า 200,000เหรียญ) ที่ทำคะแนนออกมาค่อนข้างดี โรงเรียนในเขตที่ยากจนจะได้รับการสนับสนุนทางการศึกษาน้อยกว่าในเขตที่ร่ำรวย ทำให้ครูกว่า 94% ไม่ได้รับการสนับสนุนอุปกรณ์จนต้องซื้อใช้กันเอง นอกจาเงินทุนแล้วครูยังประสบปัญหาผลตอบแทนที่ต่ำและไม่ได้รับความเครารพเหมือนอาชีพอื่นเช่น หมอ และทนาย ครูได้รับผลตอบแทนน้อยกว่า 19% เมื่อเทียบกับอาชีพอื่น

ครอบครัวที่แย่และครอบครัวที่ส่งผลลัพธ์ต่อเด็กแตกต่างกัน

ปี 1960 เด็กอาศัยกับพ่อแม่ที่แต่งงานกันและไม่หย่าร้างกันถึง 73% มีเพียง 13%ที่ไม่ได้อาศัยกับพ่อแม่ที่แต่งงานกัน แต่ในปี 2014 เด็กอาศัยกับพ่อแม่ที่แต่งงานกันเหลือเพียง 38% (น้อยกว่าครึ่งที่มาจากพ่อแม่ที่แต่งงานครั้งเดียว) ทำให้รายได้ครอบครัวต่ำ และไม่ได้รับการศึกษาที่ดีพอ จาการวิจัยพบว่า เด็ก 60%ที่ไม่จบม.ปลายไม่ได้อยู่กับครอบครัวที่แต่งงานกัน ผู้ชายที่อายุ 28-33 ปี 35% ของคนไม่จบการศึกษาต้องติดคุก เทียบกับ คนที่จบการศึกษาม.ปลายมีเพียง 10% และมหาวิทยาลัยมีเพียง 2% จากปี 1997 ถึง 2007 พบว่ามีจำนวนเด็กที่มีพ่อแม่ติดคุกเพิ่มขึ้น 80% ตอนนี้มีเด็กประมาณ 2.7 ล้านคนที่มีพ่อแม่ติดคุก หรือเด็กทุก 28 คนจะมีเด็ก1 คนที่มีพ่อแม่ติดคุก

การเลี้ยงดูที่ไม่ดี การศึกษาที่ไม่ดี ทำให้เด็กกลายเป็นผู้ใหญ่ที่มีความประพฤติที่ไม่เหมาะสม อัตราอาชญากรสูง เป็นภาระสังคม

สหรัฐมีอัตราคนที่จำคุกมากกว่าค่าเฉลี่ย 5 เท่าของประเทศที่พัฒนาแล้วและ 3 เท่าของประเทศเกิดใหม่ ค่าใช้จ่ายในการดูแลนักโทษของประเทศค่อยๆสูงขึ้น คนที่เคยถูกจำคุกจะหางานยาก ทำให้รายได้ต่ำลง ชั่วโมงการทำงานลดลง จากข้อมูลการติดคุกส่งผลให้ชั่วโมงทำงานลดลง 11% รายได้ต่อปีลดลงถึง 40%

การขาดศึกษาและความยากจนส่งผลต่อสุขภาพและต้นทุนทางเศรษฐกิจ คนที่มีรายได้ต่ำมีอัตราการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรเพิ่มขึ้น 20% นับแต่ปี 2000 คนที่มีรายได้กลุ่ม 20% ล่าง มีโอกาสเสียชีวิตไวกว่าคนที่มีรายได้สูง Top 20% มากถึง 10 ปี สหรัฐมีอัตราการตายก่อนวัยอันควรไม่มากส่วนหนึ่งมาจากการตายเพราะการฆ่าตัวตายที่สูงขึ้นถึง50% นับตั้งแต่ปี 2000และ การตาเพราะยาเพิ่มขึ้นเท่าตัวนับตั้งแต่ปี 2000 มีคนที่ออกจากการรักษาเนื่องจากค่าใช้จ่ายการรักษาพยาบาลที่เพิ่มขึ้นเป็น2 เท่าตัว ในปี 1991 มีเพียง 11% สำหรับในปัจจุบันอยู่ที่ 19%

สิ่งที่ได้อธิบายไปก่อนหน้านี้นั้น ช่องว่างรายได้ ทรัพย์สิน โอกาส กำลังบ่อนทำลายสหรัฐ ทำให้ประเทศเสียหาย นำมาซึ่งปัญหาความขัดแย่งในประเทศ ทำลายความเข็มแข็งของประเทศ ไม่สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้

ยังไม่จบนะครับ ยังเหลือ Part 2 ซึ่งเป็น Part สุดท้ายแล้วครับหวังว่าทุกคนคงรออ่านนะครับ