ผลประกอบการไตรมาส 1 ปี 2562 DTAC
ผู้ใช้บริการ
ผู้ใช้บริการระบบรายเดือน ณ สิ้นเดือน มีนาคม 2562 จำนวน 6,194,000 เลขหมาย
ผู้ใช้บริการระบบรายเดือน ณ สิ้นปี 2561จำนวน 6,071,000 เลขหมาย
ผู้ใช้บริการระบบเติมเงิน ณ สิ้นเดือน มีนาคม 2562จำนวน 14,532,000 เลขหมาย
ผู้ใช้บริการระบบเติมเงิน ณ สิ้นปี 2561 จำนวน 15,131 เลขหมาย
อย่าคลิกถ้าไม่อยากมีอิสรภาพการเงินด้วยหุ้นปันผล
รายได้เฉลี่ยต่อเลขหมาย
รายได้เฉลี่ยต่อเลขหมายระบบรายเดือน ช่วงเดือน มกราคม ถึง มีนาคม 2562 อยู่ที่ 553 บาท
รายได้เฉลี่ยต่อเลขหมายระบบรายเดือน ช่วงเดือน มกราคม ถึง มีนาคม 2561 อยู่ที่ 560 บาท
รายได้เฉลี่ยต่อเลขหมายระบบรายเดือน ช่วงเดือน ตุลาคม ถึง ธันวาคม 2561 อยู่ที่ 556 บาท
รายได้เฉลี่ยต่อเลขหมายระบบเติมเงิน ช่วงเดือน มกราคม ถึง มีนาคม 2562 อยู่ที่ 136 บาท
รายได้เฉลี่ยต่อเลขหมายระบบเติมเงิน ช่วงเดือน มกราคม ถึง มีนาคม 2561 อยู่ที่ 150 บาท
รายได้เฉลี่ยต่อเลขหมายระบบเติมเงิน ช่วงเดือน ตุลาคม ถึง ธันวาคม 2561 อยู่ที่ 142 บาท
รายได้
รายได้รวม
รายได้รวมช่วงเดือนมกราคมถึงมีนาคม 2562 อยู่ที่ 19,640 ล้านบาท เพิ่ม 2% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
ส่วนหนึ่งรายได้มาจาก CAT สำหรับค่าเช่าสินทรัพย์สัมปทาน และ TOT สำหรับค่าเช่าเครือข่าย 2300MHZ ถ้าตัดตัวนี้ไปรายได้เดือนมกราคมถึงมีนาคม 2562 จะอยู่ที่ 15,123 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน
รายได้จากการให้บริการหลัก
รายได้จากการให้บริการหลักช่วงเดือนมกราคมถึงมีนาคม 2562 อยู่ที่ 14,198ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 4.5%
รายได้จากบริการข้ามแดนอัตโนมัติ
รายได้จากบริการข้ามแดนอัตโนมัติช่วงเดือนมกราคมถึงมีนาคม 2562 อยู่ที่ 278 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันองปีก่อน 10.2%
รายได้จากการจำหน่ายเครื่องโทรศัพท์และชุดเลขหมาย
รายได้จากการจำหน่ายเครื่องโทรศัพท์และชุดเลขหมายช่วงเดือนมกราคมถึงมีนาคม 2562 อยู่ที่ 1,895 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 17.7%
ต้นทุนการดำเนินงาน
ต้นทุนการดำเนินงานไม่รวมค่าเชื่อมต่อโครงขาย
ต้นทุนการดำเนินงานไม่รวมค่าเชื่อมต่อโครงขายช่วงเดือนมกราคมถึงมีนาคม 2562 อยู่ที่ 10,524 ล้านบาท เพิ่มจากช่วงสิ้นปี 2561 ช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนมีนาคม 11%
สาเหตุมาจาก
– การสิ้นสุดสัมปทาน
– ค่าตัดจำหน่าย(ค่าใช้จ่ายสำหรับการเสื่อมมูลค่าของสินทรัพย์ เช่นของมูลค่า 100 บาท อายุ 10 ปี ต้องมีค่าใช้จ่าตรงนี้ปีล่ะ10บาท)คลื่น 1800MHZ และ 900 MHZ
– ค่าโรมมิ่ง(การให้บริการผ่านเครือข่ายคนอื่น)บนคลื่น 2300 MHz ของ TOT
ต้นทุนค่าธรรมเนียม
ต้นทุนค่าธรรมเนียมช่วงเดือนมกราคมถึงมีนาคม 2562 อยู่ที่ 666 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 65.5% มาจากการสิ้นสุดสัมปทานและมาตรการเยียวยาทำให้ต้นทุนตรงนี้ลดลง
ค่าใช้จ่ายด้านโครงข่าย
ค่าใช้จ่ายด้านโครงข่ายเดือนมกราคมถึงมีนาคม 2562 อยู่ที่ 3,034 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 61.8 % จากช่วงเดียวกันของปีก่อนมาจากการขยายเครือขาย และค่าเช่าที่จ่ายให้ CAT สำหรับสิทรัพย์ภายใต้สัญญาสัมปทาน
ต้นทุนการให้บริการอื่น
ต้นทุนการให้บริการอื่นเดือนมกราคมถึงมีนาคม 2562 อยู่ที่ 3,311 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 492% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการเพิ่มขึ้นสถานีฐาน 2300MHz
ค่าเสื่อมและค่าตัดจำหน่ายของต้นทุนการให้บริการ
ค่าเสื่อมและค่าตัดจำหน่ายคือค่าใช้จ่ายสำหรับการเสื่อมมูลค่าของสินทรัพย์ เช่นของมูลค่า 100 บาท อายุ 10 ปี ต้องมีค่าใช้จ่าตรงนี้ปีล่ะ10บาท ค่าใช้จ่ายเดือนมกราคมถึงมีนาคม 2562 มูลค่า 3,514 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 47.6% จากสัญญาสัมปทานสิ้นสุดทำให้ไม่มีค่าใช้จ่ายตรงนี้ แต่เพิ่มขึ้น26.8% เทียบกับสิ้นปี2561 เดือนตุลาคมถึงธันวาคม จากคลื่น 1800 และ 900 MHz
ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร
ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารเดือนมกราคมถึงมีนาคม 2562 มีมูลค่า 3,719 ล้านบาท ลดลง 6.5% จากช่วงสิ้นปี 2561 เดือนตุกลาคมถึงเดือนธันวาคม 6.5% แต่เพิ่มขึ้น 2.1% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
ค่าใช้จ่ายในการขายและการตลาด
ค่าใช้จ่ายในการขายและการตลาดเดือนมกราคมถึงมีนาคม 2562 อยู่ที่ 1,950 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9.9% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนเพราะเพิ่มการทำโฆษณา
ค่าใช้จ่ายในการบริหาร
ค่าใช้จ่ายในการบริหารเดือนมกราคมถึงมีนาคม 2562 อยู่ที่ 1,950 ล้านบาท
กำไรสุทธิ
กำไรสุทธิเดือนมกราคมถึงมีนาคม 2562 อยู่ที่ 1,480 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7.1% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และ 129% จากช่วงสุดท้ายของปี 2561(ตุลาคม-ธันวาคม)
ที่มา
http://dtac-th.listedcompany.com/
https://www.set.or.th/set/factsheet.do?symbol=DTAC&ssoPageId=3&language=th&country=TH