มาทำความเข้าใจคำว่าสภาพบุคคลกันดีกว่า
ในอดีตที่ผ่านมาต้องยอมรับว่าเผ่าพันธุ์มนุษย์ไม่ได้รับการยอมรับว่ามีสภาพบุคคลได้ทุกคน โดยจะยกตัวอย่างจากในอดีตที่ผ่านมาในยุคการล่าอนานิคม มีการสำรวจพื้นที่ใหม่และได้พบชนพื้นเมืองจำนวนมาก ประเทศต่างๆที่ได้ทำการสำรวจได้ทำการนำทรัพยากรในพื้นที่กลับมาประเทศตัวเอง รวมไปถึงชาวพื้นเมือง ชาวพื้นเมืองถูกมองเป็นเพียงทรัพยากรที่พบ ไม่ได้มองเป็นสภาพบุคคล โดยนักล่าอนานิคมให้เหตุผลว่าชาวชนพื้นเมืองนั้นเป็นคนป่า คนเถื่อน ดังนั้นจึงมองพวกเขาเป็นเพียงทรัพย์สินเท่านั้น ทำให้การค้าทาสเฟื่องฟูมากในช่วงนั้น
แต่ก็มีแนวคิดต่อต้านแนวคิดว่ามองชนพื้นเมืองเป็นเพียงทรัพย์สินไม่ใช่สภาพบุคคล Francisco de Victoria นักกฎหมายชาวสเปน ได้ให้มุมมองต่างจากที่กล่าวมาข้างต้น สิ่งที่ Francisco de Victoria มองนั้นจะเป็นการมองที่ว่า เผ่าพันธุ์มนุษย์ไม่ว่าชนชาติไหนมีความรับผิดชอบชั่วดี มีเหตุผล มีความนึกคิดดังนั้นพวกเขาสมควรที่จะมีสภาพบุคคลโดยเช่นกัน
ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจก่อนว่าสภาพบุคคล หรือไม่สภาพบุคคลนั้นมีความแตกต่างกันอย่างไร สำหรับสภาพบุคคลนั้นจะมีลักษณะแสดงถึงสิทธิและหน้าที่ ต่างจากสิ่งของทั่วไปอย่างเช่น ดิน ฟ้า อากาศ จะไม่มีสิทธิและหน้าที่
ทีนี้เรามาดูกฎหมายไทยกันบ้างว่าได้มีการพูดถึงเรื่องสภาพบุคคลกันหรือไม่ โดยเราเริ่มแรกจากการดูกฎหมาย รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2475 เพราะถือว่าเป็นการที่เปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองแล้ว โดยรัฐธรรมนูญดังกล่าวได้เขียนไว้ว่า “ ภายในบังคับแห่งบทบัญญัติรัฐธรรมนูญนี้ บุคคลย่อมเสมอภาคกันในกฎหมาย ฐานันดรศักดิ์โดยกำเนิดก็ดี โดยการแต่งตั้งก็ดี หรือโดยประการอื่นก็ดี ไม่กระทำให้เกิดเอกสิทธิ์แต่อย่างใด” จะเห็นได้ว่ารัฐธรรมนูญได้พูดถึงสิทธิและเสรีภาพของบุคคลที่มีเท่ากัน ไม่ได้มีสิทธิพิเศษสำหรับใครโดยเฉพาะ
แต่เมื่อเราพิจารณากันให้ดีแล้วสิทธิและเสรีภาพในรัฐธรรมนูญนั้นไม่ได้ครอบครุมถึงคนต่างชาติ เพื่อไม่ให้คนไทยเกิดความแตกต่างทางสิทธิและหน้าที่ในไทย แต่คนต่างชาติจะต่างออกไป จะเห็นได้จากการออกกฎหมายควบคุมการซื้อที่ดินของต่างชาติ
นั่นก็คือภาพรวมทั้งหมดของสภาพบุคคลนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่ง กฎหมายที่ออกมาต่างๆนั้นก็เพื่อจะกำหนดสิทธิและหน้าที่ของบุคคล ดังนั้นเราควรที่จะเข้าใยความหมายของคำว่าสภาพบุคคลให้ดีเสียก่อน