เจาะลึก PEG RATIO เครื่องมือวัดมูลค่าหุ้นเติบโต
อัตราส่วน PEG เป็นการวัดมูลค่าหุ้น โดยการเปรียบเทียบอัตราส่วนสามตัวคือ ราคาหุ้น กำไรต่อหุ้น และอัตราการเติบโตของกำไรหุ้น
PEG RATIO เป็นการพัฒนาต่อยอดการวัดมูลค่าหุ้นจาก P/E เริ่มแรกถูกพูดถึงโดย Mario Farina คนเขียนหนังสือ A Beginner’s Guide To Successful Investing In The Stock Market แต่คนที่ทำให้ PEG เป็นที่โด่งดังคือ Peter Lynch ในหนังสือ One Up on Wall Street และได้แปลเป็นไทยแล้วชื่อ เหนือกว่าวอลสตรีท ผู้อ่านสามารถหาอ่านได้
เบื้องต้นแนวคิด PEG เกิดจากการที่นักลงทุนมีมุมมองว่าหุ้นเติบโตมีมูลค่าหุ้นที่แพงเนื่องจากมี ราคาสูงเมื่อเทียบกับกำไรต่อหุ้น (P/E) โดยไม่คำนึงถึงโอกาสในการเติบโตของธุรกิจเลย ทำให้นักลงทุนพลาดโอกาสในการลงทุนหุ้นเติบโตไป
สูตรการคำนวณ PEG

การหาอัตราการเจริญเติบโต
การหาการเจริญเติบโตสามารถหาได้ 2 วิธีหลักๆ คือ
– การหาอัตราการเจริญเติบโตจากค่าเฉลี่ยการเจริญเติบโตในอดีต
การหารายได้จากค่าเฉลี่ยจากอดีตโดยส่วนใหญ่จะใช้เวลา 5 ปี ถึง 10 ปี เพราะต้องให้โอกาสบริษัทในการพิสูจน์ตัวเองในสภาวะเศรษฐกิจทั้งขาขึ้นและลง
เช่น
ปีที่ 1 กำไร 100 ล้านบาท
ปีที่ 2 กำไร 110 ล้านบาท เติบโต 10.0%
ปีที่ 3 กำไร 130 ล้านบาท เติบโต 18.2%
ปีที่ 4 กำไร 145 ล้านบาท เติบโต 11.5%
ปีที่ 5 กำไร 160 ล้านบาท เติบโต 10.3%
(10.0+18.2+11.5+10.3) หาร 4 เท่ากับ 12.5%
ดังนั้นอัตราการเจริญเติบโตเท่ากับ 12.5%
– การหาอัตราการเจริญเติบโตจากการคาดการณ์การขยายกิจการในอนาคต
การหาอัตราการเจริญเติบโตในอนาคตต้องดูไปที่นโยบายการบริหารของบริษัทว่าจะขยายงานไปในทิศทางใด เพื่อหาว่าในอนาคตจะเติบโตไปอีกกี่ปี
PEG เท่าไหร่ดี?
PEG > 1 Overvalue (ราคาหุ้นสูงกว่ามูลค่า)
PEG = 0 Fair price (ราคาหุ้นเท่ากับมูลค่า)
PEG < 0 Undervalue (ราคาหุ้นต่ำกว่ามูลค่า)
ดังนั้นควรเลือกซื้อหุ้นที่ PEG ต่ำกว่า 0
ยกตัวอย่าง
หุ้น A ราคา 60 บาท กำไร 3 บาทต่อหุ้น อัตราการเติบโต 30% ต่อปี

ดังนั้นหุ้น A ถือว่าถูก
ข้อเสีย PEG
PEG ไม่สามารถวัดมูลค่าหุ้นที่ไม่เติบโตหรือเติบโตน้อยได้ เช่น
หุ้น A ราคา 9 บาท กำไรต่อหุ้น 1 บาท อัตราเติบโต 1% ต่อปี

จะเห็นได้ว่าถ้าใช้เกณฑ์ PEG หุ้น A จะมีราคาแพงมากเพราะ หุ้น A การเติบโตต่ำ
ดังนั้นเราควรเลือกใช้เครื่องมือให้ถูกกับหุ้น