เจาะลึกกองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ (กบช.)
ตั้งแต่ปี 2566 จะพบว่าประเทศไทยจะมีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นหลักล้านคน เป็นตัวเลขที่น่าตกใจมากเป็นสิ่งที่น่าตกใจมาก แต่ที่น่าตกใจกว่าก็คือประชาชนคนไทยไม่มีการวางแผนการเงินเลย ทำให้รัฐบาลพยายามหาทางที่จะแก้ไขสถานการณ์ดังกล่าวโดยการจัดตั้งกองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ (กบช.)
กองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ (กบช.) จะมีลักษณะเป็นนิติบุคคล ซึ่งไม่ใช่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ โดยมุ่งเป้าไปที่กลุ่มลูกจ้างที่ไม่มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
คุณสมบัติที่จะสามารถเข้าร่วมกองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ (กบช.)
- เป็นลูกจ้างอายุ15 – 60 ปี
- เป็นลูกจ้างเอกชน ลูกจ้างชั่วคราวส่วนราชการ พนักงานราชการ เจ้าหน้าที่องค์การมหาชนและพนักงานรัฐวิสาหกิจ
กิจการไหนบ้างจะต้องเข้าร่วมกองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ (กบช.)
สำหรับการเริ่มต้นของกองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ (กบช.) จะแบ่งเป็นระยะ ๆ ดังนี้
- เมื่อประกาศบังคับใช้กองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ (กบช.) แล้ว กิจการที่มีลูกจ้าง 100 คนขึ้นไปจะต้องเข้าร่วมภายใน 1 ปี
- เมื่อประกาศบังคับใช้กองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ (กบช.) แล้ว กิจการที่มีลูกจ้าง 10 คนขึ้นไปจะต้องเข้าร่วมภายใน 2 ปี
- เมื่อประกาศบังคับใช้กองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ (กบช.) แล้ว กิจการที่มีลูกจ้าง 1 คนขึ้นไป จะต้องเข้าร่วมภายใน 5 ปี
ถ้ามองเรื่องนี้ในมุมนายจ้างแล้ว แน่นอนต้นทุนการประกอบกิจการจะเพิ่มขึ้น แต่ถ้ามองในมุมลูกจ้างที่จะมีหลักประกันว่าจะมีเงินใช้จ่ายหลังเกษียณอายุนั่นเอง
การส่งเงินเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ (กบช.)
กองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ (กบช.) กำหนดให้จ่ายโดยลูกจ้างและสมทบจากนายจ้าง
- ปีที่ 1 – 3 ไม่น้อยกว่าร้อยละ 3 ของค่าจ้าง
- ปีที่ 4 – 6 ไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ของค่าจ้าง
- ปีที่ 7 – 9 ไม่น้อยกว่าร้อยละ 7 ของค่าจ้าง
- ปีที่ 10 เป็นต้นไป ไม่น้อยกว่าร้อยละ 7-10 ของค่าจ้าง
สำหรับลูกจ้างที่เงินเดือนน้อยกว่า 10,000 บาท จะเก็บจากนายจ้างอยู่ฝ่ายเดียว เพื่อให้ลูกจ้างมีเงินเพียงพอไว้สำหรับใช้จ่าย
มีกำหนดเพดานการส่งเงินกองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ (กบช.)หรือไม่?
สำหรับคนที่มีลูกจ้างเงินเดือนสูง ๆ ไม่ต้องเป็นห่วงว่าต้องจ่ายเงินเยอะเพราะ กองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ (กบช.) จะคำนวณสูงสุดไม่เกิน 60,000 บาทต่อเดือน
สามารถส่งเงินเข้าเพิ่มได้หรือไม่
สำหรับกองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ (กบช.) สามารถส่งเงินเพิ่มได้ทั้งนายจ้างและลุกจ้าง โดยกำหนดเพดานไว้ที่ 30 เปอร์เซ็นของค่าจ้าง โดยไม่กำหนดเพดานของค่าจ้าง
การรับเงินกองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ (กบช.) สามารถรับแบบไหนได้บ้าง
กองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ (กบช.) สามารถรับได้ทั้งแบบการรับเงินก้อนเดียวที่เรียกว่าบำเหน็จ และการทยอยรับเงินที่เรียกว่าบำนาญได้ สามารถเลือกได้เมื่อตอนอายุ 60 ปี นอกจากนั้นหากเป็นคนป่วยที่ใกล้เสียชีวิตสามารถรับเงินก่อนได้
ความหมือนและต่างจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
สิ่งที่เหมือนกันระหว่างกองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ (กบช.) และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพคือ มีการสมทบจากนายจ้างได้ แต่สิ่งที่แตกต่างกันก็คือเพดานการคำนวณของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่จะกำหนดเพดานไว้ 60,000 บาทต่อเดือน