Money management เคล็ดลับการควบคุมความเสี่ยงจากการลงทุน/เก็งกำไร

ช่วยแชร์ต่อนะครับ

การเก็งกำไรในหุ้นหรือการลงทุนแต่ละครั้ง เราไม่สามารถคาดการณ์ได้ในอนาคตว่าเราจะกำไรหรือขาดทุนมันคือความเสี่ยงในการลงทุน ดังนั้นเราก็ควรที่จะต้องจัดการกับความเสี่ยงนี้โดยการใช้หลักการ Money management ซึ่งจะเป็นการควบคุมไม่ให้สิ่งที่เราคาดการณ์ไม่ได้มาส่งผล ทีนี้เรามาดูกันว่าถ้าเราไม่รู้จักใช้ Money management จะส่งผลเสียต่อพอร์ตการลงทุนอย่างไร

เปรียบเทียบการขาดทุนและการทำกำไรชดเชยขาดทุน

ถ้าคุณขาดทุน 20 เปอร์เซ็น คุณต้องทำกำไรครั้งต่อไป 25 เปอร์เซ็นถึงจะทำให้พอร์ตมีมูลค่าเท่าเดิม

ถ้าคุณขาดทุน 30 เปอร์เซ็น คุณต้องทำกำไรครั้งต่อไป 42.86 เปอร์เซ็นถึงจะทำให้พอร์ตมีมูลค่าเท่าเดิม

ถ้าคุณขาดทุน 50 เปอร์เซ็น คุณต้องทำกำไรครั้งต่อไป 100 เปอร์เซ็นถึงจะทำให้พอร์ตมีมูลค่าเท่าเดิม

จะเห็นได้ว่าเราต้องทำกำไรจำนวนมากเพื่อที่จะชดเชยขาดทุนดังนั้นเราควรที่จะทำ Money management เพื่อที่จะไม่ต้องมาชดเชยความเสียหายจำนวนมากแบบนี้

สิ่งที่ต้องตอบคำถาม 2 คำถามดังนี้

  1. เราสามารถเสียเงินเทรดครั้งนี้เท่าไหร่
  2. เราจะซื้อหุ้นหรือสินทรัพย์ชนิดนั้นจำนวนเท่าไหร่

กฎ 2 เปอร์เซ็น

เทรดเดอร์ที่ประสบความสำเร็จส่วนใหญ่จะไม่ยอมให้ตัวเองขาดทุนเกิน 2 เปอร์เซ็นของมูลค่าเงินลงทุนหมด เปรียบเทียบการลงทุนแต่ละครั้ง เราไม่สามารถควบคุมได้ว่าเราจะขาดทุนหรือกำไรในการเทรดแต่ละครั้งแต่เราสามารถที่จะควบคุมความเสี่ยงการสูญเสียเงินได้ ไม่ว่าหุ้นจะมีกราฟสวยแค่ไหนหรือข้อมูลแน่นแค่ไหนเราก็ควรที่จะรู้จักควบคุมความเสี่ยงที่เกิดขึ้น

การควบคุมความเสี่ยงด้วย Position sizing

การควบคุมความเสี่ยงด้วย Position sizing ก็คือการที่เราควบคุมว่าในการเทรดแต่ละครั้งเราจะซื้อสินทรัพย์หรือหุ้นจำนวนเท่าไหร่เพื่อที่จะไม่ขาดทุนเกินเป้าหมายที่เรากำหนด ทีนี้เรามาคำนวณกันเลยว่าเราจะซื้อหุ้นแต่ละครั้งเท่าไหร่เมื่อเปรียบเทียบกับการขาดทุน

สูตรการคำนวณ

(มูลค่าเงินลงทุน x จำนวนเปอร์เซ็นที่สามารถสูญเสียได้) ÷ (ราคาหุ้นที่ซื้อ – จุดตัดขาดทุน) = จำนวนหุ้นที่ซื้อ

ยกตัวอย่าง

เรามีเงิน 1,000,000 บาท ใช้กฎ 2เปอร์เซ็น ซื้อหุ้น A ราคา 100 บาท ตั้งจุดตัดขาดทุน 95 บาท

คำนวณหาว่าต้องซื้อหุ้น A กี่หุ้น

(1,000,000 x 2%) ÷ (100 – 95) = 4,000 หุ้น

ดังนั้นเราจะซื้อหุ้น A จำนวน 4,000 หุ้น ราคา 100 บาทโดยตั้งจุดขาดทุน 95 บาท เพื่อไม่ให้เงินลงทุนเสียหายเกิน 2 เปอร์เซ็น

จริงๆแล้วเราสามารถใช้สูตรคำนวณนี้กับสินทรัพย์ประเภทไหนก็ได้ ไม่จำเป็นแต่เพียงหุ้นอย่างเดียวเพียงแต่ที่ผมยกตัวอย่างเพื่อให้เห็นภาพง่ายขึ้นเท่านั้นเอง