ก่อนเป็นหนี้ต้องรู้จักดอกเบี้ย MLR MOR และ MRR
โดยปกติแล้วการเป็นหนี้จะแบ่งดอกเบี้ยออกเป็น 2 ประเภทคือดอกเบี้ยคงที่ (Fixed Rate) ซึ่งจะกำหนดไปเลยว่าเราต้องเสียดอกเบี้ยอัตราเท่าไหร่ ระยะเวลาเท่า และดอกเบี้ยลอยตัว (Floating Rate) ที่จะสามารถปรับเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ ทีนี้เราจะรู้ได้ไงว่าอัตราดอกเบี้ยเท่าไหร่
สำหรับธนาคารแล้วได้มีการเแบ่งอัตราดอกเบี้ยตามคุณภาพของลูกค้า โดยทางธนาคารจะคิดอัตราดอกเบี้ยสูงสำหรับลูกค้าที่ความเสี่ยงในการผิดชำระหนี้สูง และอัตราดอกเบี้ยต่ำสำหรับลูกค้าที่มีความเสี่ยงที่ผิดชำระหนี้ต่ำ นอกจากนั้นยังรวมไปถึงประเภทการใช้งานอีกด้วย
- Minimum Loan Rate หรือ MLR จะมีไว้สำหรับบุคคลหรือนิติบุคคลที่มีประวัติทางการเงินขาวสะอาด มีสินทรัพย์ค้ำประกันจำนวนมาก นั่นก็คือกลุ่มลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ในแบบมีระยะเวลาที่จะต้องกู้เงินไว้สำหรับดำเนินการธุรกิจ
- Minimum Overdraft Rate หรือ MOR ใช้สำหรับประเภทวงเงินเบิกเกินบัญชีหรือสินเชื่อ OD (Over Draft) นั่นเองให้แก่ลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี
- Minimum Retail Rate หรือ MRR เราะจะพบเห็นในการกู้ซื้อบ้าน เพราะ MRR มีไว้สำหรับลูกค้ารายย่อยชั้นดี เราในฐานะรายย่อยทั่วไปจริงได้อัตราดอกเบี้ย MRR ในช่วงที่ดอกเบี้ยลอยตัว
สำหนับอัตราดอกเบี้ยจะเรียงจากดอกเบี้ยต่ำไปสูงดังนี้ 1.Minimum Loan Rate หรือ MLR จะเป็นอัตราดอกเบี้ยต่ำสุด 2. Minimum Overdraft Rate หรือ MOR จะเป็นอัตราดอกเบี้ยต่ำอันดับ 2 และ 3. Minimum Retail Rate หรือ MRR จะเป็นอัตราดอกเบี้ยสูงสุด
*** สำหรับการกู้ซื้อบ้าน มักจะมีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยคงที่ในช่วง 3 ปีแรกหลังจากนั้นก็ปล่อยอัตราดอกเบี้ยลอยตััว
อัตราดอกเบี้ย MLR MOR และ MRR เท่ากันทุกธนาคารหรือไม่?
โดยปกติอัตราดอกเบี้ย MLR MOR และ MRR ในแต่ละธนาคารจะไม่เท่ากัน เราต้องคอยติดตามประกาศจากแต่ละธนาคารว่ามีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเป็นเท่าไหร่ เพื่ออรักษาผลประโยชน์ให้กับตัวเอง โดยทางธนาคารแห่งประเทศไทยได้กำหนดว่าธนาคารต้องประกาศอัตราดอกเบี้ยเป็นที่ทราบโดยทั่วไป ดังนั้นเรามีสิทธิทราบอัตราดอกเบี้ย
สำหรับการกู้เงินไม่ว่าสินเชื่ออะไรก็ตามถึงเราจะเป็นลูกค้าประเภทเดียวกัน แต่ไม่จำเป็นต้องมีอัตราดอกเบี้ยที่ต้องชำระเท่าเทียมกัน เราสามารถต่อรองอัตราดอกเบี้ยจากธนาคารได้
การคาดการณ์สำหรับอัตราดอกเบี้ย MLR MOR และ MRR เป็นเรื่องที่ยาก ดังนั้นเราควรคาดการณ์อัตราดอกเบี้ย MLR MOR และ MRR แบบเพื่อเหลือเพื่อขาด