กลยุทธ์ Lean management พัฒนาองค์สู่ความยั่งยืน
เมื่อพูดถึงคำว่า Lean แล้วทุกคนต่างคิดถึงเรื่องรูปร่างของหนุ่ม สาวที่หุ่นดี ไม่มีไขมันส่วนเกิน สอดคล้องกับความหมายของ Lean ที่กำลังจะพูดถึงในการพัฒนาองค์กรต่างๆ ทั้งทางด้านเอกชนหรือแม้กระทั่งทางภาครัฐ
Lean ก็คือการที่ทำงานให้เกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผลให้มากที่สุดโดยการกำจัดสิ่งที่ไม่จำเป็น ไม่ก่อให้เกิดมูลค่าออกไป หรือเรียกอีกอย่างว่า Waste นั่นเอง
สำหรับ Waste เป็นสิ่งที่ไม่ได้สร้างคุณค่าต่อองค์กร สอดคล้องกับแนวคิดในเรื่องการจัดสรรทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพ เพราะอย่าลืมว่าแต่ละองค์กรมีทรัพยากรจำกัด หากเรานำทรัพยากรไปใช้ในสิ่งที่ไม่เกิดประโยชน์แล้ว สิ่งที่สร้างคุณค่าให้องค์กรก็จะถูกจำกัดลง
7 Waste ที่ต้องถูกกำจัดเพื่อให้องค์กร Lean
- ความสูญเสียเนื่องจากการผลิตมากเกินไป (Overproduction)
- ความสูญเสียเนื่องจากการเก็บวัสดุคงคลัง (Inventory)
- ความสูญเสียเนื่องจากการขนส่ง (Transportation)
- ความสูญเสียเนื่องจากการเคลื่อนไหว (Motion)
- ความสูญเสียเนื่องจากกระบวนการผลิต (Processing)
- ความสูญเสียเนื่องจากการรอคอย (Delay)
- ความสูญเสียเนื่องจากการผลิตของเสีย (Defect)
ความสูญเสียเนื่องจากการผลิตมากเกินไป (Overproduction)
ความสูญเสียเนื่องจากการผลิตมากเกินไป (Overproduction) เกิดจากการที่องค์กรมีศักยภาพที่จะผลิตได้มาก แสดงถึงประสิทธิภาพในการผลิต แต่ความจริงแล้วเราไม่จำเป็นต้องผลิตเพื่อแสดงศักยภาพในการผลิต เราเพียงแต่ผลิตตามความต้องการการใช้จะดีกว่า ยกตัวอย่าง หากตลาดต้องการใช้โทรศัพท์มือถือ 100 ล้านเครื่องต่อปี แต่บริษัทมีศักยภาพผลิตได้ 1,000 ล้านเครื่องต่อปี บริษัทก็ไม่ควรผลิตโทรศัพท์มือถือเกินถึง 100 ล้านเครื่อง ถึงแม้จะมีศักยภาพผลิตได้มากกว่านั้น
ความสูญเสียเนื่องจากการเก็บวัสดุคงคลัง (Inventory)
การเตรียมพร้อมเพื่อนำสินค้าไปใช้เป็นสิ่งที่ดี แต่การเตรียมสินค้าไว้มากเกินไปเกินความจำเป็นจะส่งผลเสีย ทั้งในเรื่องของเงินทุนที่จมไปในสิ่งที่เปล่าประโยชน์ การบริหารจัดการที่ต้องเพิ่มมากขึ้น หากสิ่งที่อยู่ในคลังมีอายุการใช้งานสั้น ยิ่งก่อให้เกิดปัญหาเพิ่มขึ้น เช่น หากตลาดต้องการขนมปังปีละ 5 ล้านชิ้นต่อเดือน เราก็ควรบริหารว่าจะมีสินค้าที่เป็นจนมปังพร้อมขาย 5 ล้านชิ้นต่อเดือน ไม่ควรมีมากเกินไปหรือน้อยเกินไป
ความสูญเสียเนื่องจากการขนส่ง (Transportation)
การขนส่งเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดต้นทุนทั้งในเรื่องของตัวเงิน และต้นทุนในรูปแบบของเวลา การปรับปรุงความสูญเสียเนื่องจากการขนส่ง (Transportation) จะสามารถทำให้เราได้ทรัพยากรในรูปตัวเงิน บุคลากร และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือเวลา
เช่น หากสินค้าเป็นสินค้าเป็นราคาแพงมาก การเลือกที่จะขนส่งผ่านเครื่องบินที่มีความไวกว่าจะส่งผลให้ได้รับเงินสดมาไวกว่าการขนส่งผ่านทางเรือ
ความสูญเสียเนื่องจากการเคลื่อนไหว (Motion)
ความสูญเสียจากการเคลื่อนไหว (Motion) จะทำให้เราสูญเสียในหลายๆอย่าง ทั้งวัสดุ และเวลา รวมถึงสภาพการทำงานของพนักงานด้วย การทำงานที่เคลื่อนไหวไม่เกิดประโยชน์จะสร้างความเหนื่อยล้าต่อพนักงาน การเคลื่อนไหวที่ไม่เหมาะสมอาจจะเกิดความเสียหาย
เช่น เราออกแบบการทำงานในโรงงานที่มีสายพานการผลิต ส่งผลให้พนักงานไม่ต้องเคลื่อนไหวไปในทิศทางไหน
ความสูญเสียเนื่องจากกระบวนการผลิต (Processing)
กระบวนการทำงานที่ซ้ำซ้อน การทำงานที่ซ้ำๆ ไม่ก่อเกิดประโยชน์อะไรต่อการทำงาน เราต้องดูกระบวนการทำงานผ่านกระบวนการผลิตว่ามีตรงไหนที่ไม่ก่อเกิดประโยชน์ ก็ควรที่จะปรับปรุงกระบวนการผลิตว่าตรงไหนเกิดปัญหาก็แก้ไขซะ กระบวนการผลิตนอกจากเรื่องของเครื่องจักรแล้วเราสามารถพัฒนาการผลิตโดยการพัฒนาคุณภาพบุคลากรได้อีกด้วย
ความสูญเสียเนื่องจากการรอคอย (Delay)
การทำงานที่ขาดความต่อเนื่อง จะทำให้เกิดผลลัพธ์น้อยลง ผลผลิตน้อยลง การทำงานที่ต้องรอคอยจะส่งผมทำให้มีโอกาสเกิดข้อผิดพลาดในการทำงานด้วย เพราะทำงานหน่วยหนึ่งจะพยายามเร่งงานเพื่อป้อนงานให้อีกหน่วยที่กำลังรอการทำงาน ยกตัวอย่าง การผลิตขนมปัง หากกระบวนการผลิตแป้งขนมปังล่าช้า จะส่งผลให้ฝ่ายอบขนมปังไม่มีงานทำ อยู่ว่างๆไม่เกิดประโยชน์อะไร
ความสูญเสียเนื่องจากการผลิตของเสีย (Defect)
การผลิตที่มีอัตราส่วนจากการผลิตของเสียที่เยอะกว่าปกติ จะทำให้มีต้นทุนในการทำงานเพิ่มขึ้น เช่น มีคำสั่งซื้อขนมปังทรงกลม 10 ล้านชิ้น หากเราผลิตสินค้าออกมาผิดรูปแบบ 1 ล้านชิ้น เราต้องเพิ่มกระบวนการผลิต เพิ่มวัตถุดิบเพื่อสามารถผลิตขนมปังตามคำสั่งได้ หากเราสามารถลดปริมาณของเสียได้ก็จะทำให้เรามีต้นทุนวัตถุดิบการผลิตน้อยลงนั่นเอง