ถัวเฉลี่ยขาขึ้นหรือขาลงดีกว่ากัน?

ช่วยแชร์ต่อนะครับ

ถัวเฉลี่ยขาขึ้นหรือขาลงดีกว่ากัน?

ถัวเฉลี่ยคืออะไร?

ถัวเฉลี่ยคือการแบ่งซื้อหุ้นในหลายๆครั้งเพื่อให้ได้หุ้นในหลายระดับราคา

เช่น

ซื้อครั้งที่ 1 10 บาท

ซื้อครั้งที่ 2  9 บาท

ซื้อครั้งที่ 3  8 บาท

จะทำให้ได้ต้นทุนเฉลี่ยออกมาที่ 9 บาท เป็นราคาที่จะไม่สูงหรือต่ำเกินไป

ทำไมต้องถัวเฉลี่ย?

ราคาหุ้นมีการขึ้นลงตลอดเวลาเราไม่สามารถหาจุดต่ำสุดได้ การที่เราเข้าซื้อหุ้นโดยที่ราคาใดราคาหนึ่งจำนวนมาก ถ้าเราโชคดีซื้อในราคาต่ำก็ดีไปแต่ถ้าซื้อราคาสูงแล้ว เราก็จะเสียเปรียบในเรื่องต้นทุนเมื่อเทียบกับนักลงทุนคนอื่น

ถัวเฉลี่ยขาลงคืออะไร

การถัวเฉลี่ยขาลงนั้นก็คือการที่เรา เข้าซื้อหุ้นเพิ่มเมื่อราคาลดลง เช่น

ตอนนี้เราซื้อหุ้นจำนวน 10 บาท จำนวน 100 หุ้น

ถ้าราคาลงไป 8 บาท เราก็ซื้อหุ้นเพิ่มขึ้นอีก 100 หุ้น

ถ้าราคาลงไปอีกเราก็ซื้อเพิ่มเรื่อยๆ

ข้อดีของการถัวเฉลี่ยขาลง

  • ลดความเสี่ยงจากการซื้อหุ้นราคาแพง
  • ผลตอบแทนเพิ่มสูงขึ้น การซื้อหุ้นที่ถูกลงจะทำให้ได้รับผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้น ทั้งในรูปของส่วนต่างราคาที่เพิ่มขึ้นและเปอร์เซ็นปันผลที่เพิ่มขึ้น

อย่าคลิกถ้าไม่อยากมีอิสรภาพการเงินด้วยหุ้นปันผล

ข้อเสียของการถัวเฉลี่ยขาลง

  • ถ้าถัวเฉลี่ยหุ้นไม่ดียิ่งขาดทุน

การถัวเฉลี่ยขาขึ้นคืออะไร?

การถัวเฉลี่ยขาขึ้นคือการซื้อเพิ่มเมื่อราคาขึ้น

 เช่น

ถ้าเราซื้อที่ราคาแรก 10 บาท

ถ้าราคาไป ที่ 11 บาทก็ซื้อเพิ่ม

ถ้าราคาไป ที่ 12 บาทก็ซื้อเพิ่ม

โดยปกติกลยุทธ์ซื้อถัวเฉลี่ยขาขึ้นจะใช้ร่วมกับการCut loss และ trailing Stoploss เพื่อที่จะล็อกกำไรไว้

อ่านบทความ:Trailing stoploss จำกัดขาดทุนไม่จำกัดกำไร

อ่านบทความ:STOP LOSS คืออะไร? ทำไมเราต้องใช้ STOP LOSS?

ข้อดีของการถัวเฉลี่ยขาขึ้น

  • ต้นทุนต่ำกว่าตลาด ถ้าได้ซื้อเพิ่มอย่างที่เห็นเราจะซื้อเพิ่มเมื่อราคาขึ้นไปแล้ว ทำให้ทุนเฉลี่ยต่ำลง เช่น ถ้าเราเริ่มซื้อที่ 10 บาท ราคาตลาดมาที่ 11 บาทเราซื้อเพิ่มอีก จะทำให้ทุนเราเท่ากับ(11+10)/2 = 10.5บาท ต่ำกว่าราคาตลาดที่ 11 บาท

ข้อเสียการถัวเฉลี่ยขาขึ้น

  • กำไรน้อยกว่าซื้อครั้งเดียว เพราะเราต้องซื้อทุนที่สูงขึ้นทำให้กำไรน้อยกว่า

สิ่งที่สังเกตจากกลยุทธ์ทั้งสอง กลยุทธ์ถัวเฉลี่ยขาลงจะเน้นไปทางนักลงทุน ส่วนถัวเฉลี่ยขาขึ้นจะไปในทางเน้นกำไรมากกว่า การที่เราใช้กลยุทธ์อะไรนั้นเราต้องรู้ว่าตัวเราเป็นแบบไหนเพื่อใช้กลยุธ์ที่ถูกต้อง

อ่านบทความอื่นเกี่ยวกับ Technical Analysis