แกะรอย JAPAN AIRLINE ทำอย่างไรให้พ้นวิกฤติล้มละลาย

ช่วยแชร์ต่อนะครับ

JAPAN AIRLINE มีชะตากรรมที่ใกล้เคียงกันคือการที่เปลี่ยนจากเป็นสายการบินที่รัฐเป็นเจ้าของก่อนจะแปรรูปสายการบินเป็นเอกชน

นอกจากนั้นสายการบิน JAPAN AIRLINE ยังเคยเผชิญหน้ากับโอกาสล้มละลายเช่นเดียวกับการบินไทย

JAPAN AIRLINE ในช่วง 1980 นั้นสามารถได้รางวัลสายการบินดีเด่นทั้งในด้านกรขนส่งผู้โดยสารและสินค้า 5 ปีติด

ถึงแม้จะแปรรูปเป็นเอกชนแล้ว แต่ยังคงติดนิสัยการทำงานในแบบราชการ ฟังดูคุ้นๆนะครับ ทำให้บุคลากรในสายการบิน JAPAN AIRLINE ไม่มีความกระตือรือร้นในการทำงาน ส่งผลต่อองค์กรไม่มีความกระตือรือร้นในการแข้งขันกับสายการบินอื่นเท่าไหร่

พฤติกรรมทั้งหมดนี้ทำให้สายการบิน JAPAN AIRLINE มีหนี้สินอย่างมาก มีหนี้ 100 เท่าเมื่อเทียบกับมูลค่าบริษัท ทุกคนต่างมองว่าสายการบิน JAPAN AIRLINE ไปไม่รอดแล้ว

จนกระทั่งมีอัศวินขี่ม้าขาวเข้ามาบริหาร อินาโมริ คาซึโอะ คนที่เคยบวชเป็นพระและไม่มีประสบการณ์เกี่ยวกับสายการบิน แต่สามารถทำให้สายการบินกำไรได้ใน 2 ปี

ก่อนที่ อินาโมริ คาซึโอะ จะเข้ามาบริหาร JAPAN AIRLINE สายการบินมีการขยายงานด้วยความประหลาดยกตัวอย่างเช่นการที่ไปซื้อโรงแรม The Essex House แมนฮัตตันที่ประเทศอเมริกาด้วยราคาที่แพงหูฉีกทั้งในเรื่องของราคาซื้อและราคาตกแต่ง ที่มีคำกล่าวว่าถึงแม้จะมีการเข้าพักเต็มตลอดไปอีก 30 ปี แต่ก็ยังไม่สามารถทำกำไรได้

ในปี 1992 เป็นปีแรกที่สายการบินเริ่มขาดทุนหลังจากการแปรรูปเป็นเอกชน บริษัทพยายามที่จะลดพนักงานและขายทรัพย์สินบางส่วนออกไป แต่ปัญหาใหญ่อยู่่ที่บริษัทมีการลงทุนที่กระจายออกไปที่ไม่ใช่ธุรกิจทีสายการบินถนัด

พอเจอวิกฤติต่างๆอย่างเหตุการณ์ 11 กันยา และโรค SAR ที่ทำให้ผู้โดยสารลดลงอย่างมากทำให้บริษัทได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง

เมื่อสายการบินระหว่างประเทศประสบปัญหาทางบริษัทพยายามที่จะขยายเส้นทางการบินมาในประเทศญี่ปุ่นแทนโดยการซื้อสายการบิน  Japan Air System

สายการบิน JAPAN AIRLINE ขยายฝูงบินในประเทศแต่ซื้อเครื่องบินที่มีขนาดใหญ่เกินไปสำหรับการเดินทางในประเทศ เมื่อเทียบกับสายการบินอื่นที่เน้นเครื่องบินขนาดเล็ก ทำให้เมื่อที่นั่งของเครื่องบินไม่เต็มทำให้รายได้ไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่าย

หลังจากนั้นสายการบินได้ยื่นขอคุ้มครองด้วยกฎหมายล้มละลาย ลดจำนวนพนักงานถึง 15,700 ตำแหน่ง

อินาโมริ คาซึโอะ เข้ามาบริหารบริษัทโดยมีเงื่อนไขไม่รับเงินเดือน เขาปรับเปลี่ยนวิธีการบริหารแบบเดิมที่เป็นกึ่งระบบราชการ โดยการแยกย่อยหน่วยการบริหารออกไป โดยให้มุ่งเป้าไปที่การทำกำไรบริษัท

บริษัทพยายามที่จะตัดต้นทุนต่างๆของบริษัทออกไป โดยไม่กระทบกับคุณภาพการบริการของสายการบิน

บริษัทยังเน้นการซื้อเครื่องบินที่เหมาะสมกับเส้นทางการบินและประหยัดน้ำมัน

JAPAN AIRLINE แสดงให้เห็นแล้วว่าสามารถพาตัวเองรอดจากสภาวะวิกฤตล้ละลายได้ หวังว่าการบินไทยของเราจะสามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาสายการบินให้ดีสามารถทำกำไรเข้าประเทศได้