วิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานหุ้นด้วย Five Forces Model
Five Forces Model ถูกพัฒนาโดย Porter สำหรับ Five Forces Model เป็นการวิเคราะห์ภายนอกองค์การหรือกิจการในระดับจุลภาค หรือการวิเคราะห์ภาพรวมอุตสาหกรรมนั่นเอง สำหรับมือใหม่ผมแนะนำเครื่องมือ Five Forces Model เนื่องจากมือใหม่ไม่มีประสบการณ์ในการมองอุตสาหกรรมว่าควรดูที่จุดไหน การใช้กรอบเครื่องมือการวิเคราะห์อย่าง Five Forces Modelจะช่วยให้การวิเคราะห์รอบด้านมากขึ้น
Five Force Model ประกอบไปด้วย

การคุกคามของผู้แข่งขันรายใหม่ (Threat of new entrants)
โดยปกติอุตสาหกรรมไหนที่มีอัตราส่วนกำไรสูง การลงทุนต่ำจะดึงดูดให้คู่แข่งเข้ามาใหม่เพียบเช่นร้านกาแฟ ครีมบำรุงผิว นอกเสียจากว่ามีข้อจำกัดบางอย่างที่ทำให้ไม่สามารถเข้ามาแข่งขันได้ยกตัวอย่างเช่น
สัมปทานอย่างท่าอากาศยาน ที่คนทั่วไปไม่สามารถเปิดสนามบินแข่งขันได้
ธุรกิจที่ต้องใช้เงินลงทุนสูง เช่นห้างสรรพสินค้า ที่เราไม่สามารถเปิดแข่งขันได้
มีแบรนด์ที่ทรงพลัง เช่น KFC เป็นธุรกิจขายไก่ทอด ซึงแต่ล่ะประเทศจะมีรสชาติแตกต่างกัน แต่ด้วยKFC มีแบรนด์ที่ทรงพลังทำให้คู่แข่งในประเทศอื่น ๆแข่งขันด้วยยาก
สามารถผลิตได้ต้นทุนต่ำ ทำให้คู่แข่งไม่สามารถขายทำกำไรได้เมื่อเราลดราคา
การคุกคามของสินค้าทดแทน (Threat of substitutes)
การคุกคามของสินค้าทดแทนต้องให้ความสำคัญอย่างยิ่งโดยเฉพาะยุคนี้ที่เป็น ยุค Disrupted อย่างเช่น การดูหนังออนไลน์ มาทำลายอุตสาหกรรมร้านเช่าซีดีหนัง Grab มาทำลายอุตสาหกรรมรถ Taxi และวินมอเตอร์ไซต์ ผลกระทบรุนแรงถึงขั้นมีการทะเลาะวิวาทกันเลย
อำนาจการต่อรองลูกค้า (Bargaining power of customers)
อำนาจการต่อรองลูกค้า เมื่อลูกค้ามีทางเลือกในการใช้บริการมาก เมื่อมีความจำเป็นที่จะต้องขึ้นราคาสินค้า ลูกค้าจะไปใช้บริการสินค้าผู้ประกอบการรายอื่นทันที เช่น สินค้าอุปโภคบริภาค อย่างพวก น้ำมันพืช น้ำตาล ที่ลูกค้าสามารถมีทางเลือกไปใช้บริการผู้ประกอบการรายอื่นได้ ในทางกลับกันธุรกิจอย่างสนามบินลูกค้าไม่สามารถต่อรองได้หากต้องการโดยทางเครื่องบินทำให้เมื่อมีการขึ้นราคา ลูกค้าไม่สามารถปฏิเสธได้
อำนาจการต่อรองของซัพพลายเออร์ (Bargaining power of suppliers)
ซัพพลายเออร์มีหน้าที่ในการจัดหาวัตถุดิบให้กับกิจการ นั่นหมายถึงต้นทุนในการผลิตส่งผลต่อกำไรของธุรกิจ ธุรกิจถ้าหากมีอำนาจต่อรองน้อยกว่าซัพพลายเออร์จะส่งผลเสียต่อกิจการในเรื่องการควบคุมต้นทุน แต่ถ้ากิจการมีอำนาจการต่อรองมากกว่าซัพพลายเออร์ การทำให้ต้นทุนกิจการต่ำเป็นไปได้ยาก
การแข่งขันในอุตสาหกรรม (Competitive rivalry)
มีคำศัพท์ทางการตลาดอย่างหนึ่งที่น่าสนใจคือ Red Ocean และ Blue Ocean เป็นการให้คำนิยามการแข่งขันในอุตสาหกรรมอุตสาหกรรมที่มีการแข่งขันกันรุนแรงเปรียบเสมือนน่านน้ำที่มีคนมากมายอาศัยอยู่ต้องแก่งแย่งกันเพื่อทรัพยากรทำให้เกิดเป็นน่านน้ำสีเลือดหรือ Red Ocean ในทางกลับกันน่านน้ำที่มีผู้คนอาศัยน้อยไม่จำเป็นต้องแข่งขันกลับใครทรัพยากรเหลือเฟือทำให้เกิดเป็น Blue Ocean
ยกตัวอย่างการวิเคราะห์หุ้นด้วย Five Forces Model แบบสรุปคร่าวๆ

บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ทำธุรกิจสนามบินมีท่าอากาศยานดูแลดังนี้ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ท่าอากาศยานดอนเมือง ท่าอากาศยานเชียงใหม่ ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย ท่าอากาศยานภูเก็ต และท่าอากาศยานหาดใหญ่ จะเห็นได้ว่ามีท่าอากาศยานที่สำคัญต่อประเทศทั้งนั้น เราจะเริ่มทำการวิเคราะห์
การคุกคามของผู้แข่งขันรายใหม่ (Threat of new entrants)
การเข้ามาของคู่แข่งสนามบินรายใหม่ยากเพราะต้องได้รับอนุญาตจากทางรัฐบาล เนื่องจากเป็นการลงทุนขนาดใหญ่
การคุกคามของสินค้าทดแทน (Threat of substitutes)
ในปัจจุบันการเดินทางระยะไกลที่สะดวกที่สุดและใช้เวลาน้อยที่สุดยังคงเป็นการใช้เครื่องบิน สินค้าทดแทนยังไม่มีในปัจจุบัน
อำนาจการต่อรองลูกค้า (Bargaining power of customers)
อำนาจการต่อรองลูกค้าที่จะเข้าออกประเทศผ่านเครื่องบินแทบจะไม่มี
อำนาจการต่อรองของซัพพลายเออร์ (Bargaining power of suppliers)
ซัพพลายเออร์ของบริษัทท่าอากาศยานคือรัฐบาล ถือให้อนุญาตใช้ที่ดิน อนุญาตการนำขึ้นเครื่องบิน สิทธิทั้งหมดอยู่ที่รัฐบาลในการต่อสัญญา แต่ว่าทางบริษัทท่าอากาศยานได้แก้ไขโดยการที่มีรัฐบาลเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่
การแข่งขันในอุตสาหกรรม (Competitive rivalry)
บริษัทท่าอากาศยานไทยไร้คู่แข่งในประเทศ
สรุปแล้ว บริษัทท่าอากาศยานไทยมีข้อเสียในด้าน อำนาจการต่อรองของซัพพลายเออร์ (Bargaining power of suppliers) เท่านั้น แต่สามารถแก้ไขโดยการให้ซัพพลายเออร์เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่