อยากลงทุนตราสารหนี้อย่างมั่นใจต้องรู้จัก Fitch Rating

ช่วยแชร์ต่อนะครับ

Fitch Rating คือ บริษัทตัวแทนให้ระดับความน่าเชื่อถือ เป็นหนึ่งในสามอันดับต้นๆในการให้ระดับความน่าเชื่อถือนอกจาก Moody และ  Standard & Poor เป็นหนึ่งในสามของ NRSRO (nationally recognized statistical rating organizations) ที่ออกแบบโดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ในปี 1975

Fitch rating มีสำนกงานใหญ่อยู่สองที่คือที่นิวยอร์คและลอนดอน สำหรบผู้ถือหุ้นใหญ่ของ Fitch rating คือ Hearst ที่ถือหุ้น Fitch rating 100 เปอร์เซ็น

ก่อนหน้านี้ในปี 2006 Hearst ถือหุ้น Fitch rating 50%

ในปี 2014 Hearst ได้ทำการซื้อหุ้นเพิ่ม 30% เป็น 80% มูลค่า 1.965 พันล้านเหรียญ

ในปี 2014 Hearst ได้ทำการซื้อหุ้นเพิ่ม 20% เป็น 100% มูลค่า 2.8 พันล้านเหรียญ

สาเหตุที่มีการตั้งชื่อ Fitch rating เนื่องจากประธานผู้ก่อตั้งบริษัทชื่อ John Knowles Fitch เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 1914ในนิวยอร์คและถูกซื้อขายรวบกิจการหลายทอด  ในปี 1997 Fitch rating ถูกซื้อโดย FIMALAC และถูกควบกิจการโดย London-based IBCA Limited ในปี 2000 Fitch rating ซื้อกิจการ Chicago-based Duff & Phelps Credit Rating Co. และ Thomson Financical Bank watch

 บริษัท ฟิทช์เรทติ้ง (ประเทศไทย) จำกัด (Fitch Rating Thailand) 

 บริษัท ฟิทช์เรทติ้ง (ประเทศไทย) จำกัด (Fitch Rating Thailand) เริ่มดำเนินการในประเทศไทยตั้งแต่เดือน กุมภาพันธ์ ปี 2001 โดยการร่วมลงทุนของ Fitch Ratings Limited (UK) บรรษัทเงินทุนระหว่างประเทศของเวิร์ดแบงค์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ รวมถึง ผู้จัดการสินทรัพย์ไทยและผู้ออกตราสาร โดยผู้ถือหุ้นจะเป็นในฝั่งของ Fitch Rating 49.9% สถานบันไทย 50.1%

 การให้อันดับของ Fitch Rating โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือการแบ่งระดับของบริษัทที่น่าเชื่อถือของบริษัท เพื่อให้นักลงทุนตัดสินใจในการลงทุนตราสารหนี้ในบริษัท

ระดับสามารถลงทุนได้

AAA : บริษัทมีคุณภาพ น่าเชื่อถือและมั่นคง

AA : เป็นบริษัทที่มีคุณภาพ มีความเสี่ยงกว่า AAA เล็กน้อย

A : เศรษฐกิจมีผลกระทบต่อบริษัทได้

BBB : บริษัทขนาดกลาง, อยู่ในระดับที่พอใช้

ไม่อยู่ในระดับน่าลงทุน นักลงทุนส่วนใหญ่จะเน้นการเก็งกำไร

BB : มีแนวโน้มเปลี่ยนไปตามเศรษฐกิจ

B : สถานการณ์ทางการเงินมีการแปรเปลี่ยนอย่างชัดเจน

CCC : สถานการณ์ปัจจุบันมีความเสี่ยง ขึ้นอยู่กับเศรษฐกิจว่าจะสามารถทำตามข้อผูกมัด

CC : ความเสี่ยงสูง เน้นการเก็งกำไรในตราสารหนี้

C : ความเสี่ยงสูงมาก มีโอกาสล้มละลายแต่ยังสามารถจ่ายเงินตามสัญญาได้

D : ไม่สามารถจ่ายเงินได้ตามสัญญาทั้งหมดหรือส่วนใหญ่

NR : ไม่ออกระดับความน่าเชื่อถือให้

การให้ระดับความน่าเชื่อถือในตราสารหนี้ระยะสั้น(ไม่เกิน 12 เดือน)

F1+ : คุณภาพสูง มีศักยภาพสูงที่จะสามารถทำข้อผูกมัดทางการเงินได้

F1 : คุณภาพสูง สามารถทำตามข้อผู้กมันทางการเงินได้

F2 : คุณภาพดี ศักยภาพพอใช้ในความสามารถทำตามข้อผูกมัดทางการเงิน

F3 : คุณภาพระดับพอใช้ ยังคงสามารถทำตามข้อผูกมัดทางการเงินแต่ก็มีโอกาสที่จะมีเงื่อนไขที่ไม่สามารถทำตามข้อผูกมัดทางการเงิน

B : เน้นการเก็งกำไร มีความสามารถน้อยที่จะสามารถทำตามข้อผูกมัดทางการเงินเนื่องด้วย สถานะทางการเงินและเศรษกิจ

C : มีโอกาสสูงที่ไม่สามารถทำตามข้อผูกมัดทางการเงิน

D : ไม่สามารถทำตามข้อผูกมัดทางการเงินได้

การให้ระดับความน่าเชื่อถือของประเทศโดย Fitch Rating

การให้ระดับความน่าเชื่อถือประเทศของ Fitch rating มีไว้เพื่อนักลงทุนที่เน้นการลงทุนต่างประเทศ ประเมินสถานการณ์การลงทุนในประเทศนั้น ๆ ว่ามีความเสี่ยงที่จะสูญเสียเงินต้นได้มากแค่ไหน หรือมีความเสี่ยงทางด้านอื่น ๆไม่ว่าจะด้านการเมือง กฎหมาย กฎระเบียบ การอำนวยความสะดวกทางการเงิน