ค่าเสื่อมและค่าตัดจำหน่าย(Depreciation &Amortization):ค่าใช้จ่ายที่ไม่ต้องจ่ายเงิน

ช่วยแชร์ต่อนะครับ

ค่าเสื่อม(Depreciation) คือค่าอะไร?

เวลาซื้อสินทรัพย์ต่างๆเช่นตึก มักมีการสึกกร่อนเสมอ ทำให้มูลค่าของตึกลดลงเรื่อยๆ การลดลงอย่างนี้ในทางบัญชีแล้วก็คือค่าใช้จ่ายนั่นเอง ทำให้บริษัทต้องบันทึกว่าบริษัทมีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าเสื่อมซึ่งสะท้อนการลดลงของมูลค่าทรัพย์สินของบริษัท แต่ก็ไม่ได้จ่ายเป็นเงินไปจริงๆ

ค่าตัดจำหน่าย(Amortization)คืออะไร?

ค่าตัดจำหน่าย(Amortization)มีลักษณะเสมือนกับค่าเสื่อม แตกต่างตรงที่ค่าตัดจำหน่ายเป็นทรัพย์สินที่ไม่มีตัวตน เช่น อายุสัมปทาน สมมติเราได้ สัมปทานในการขุดเหมืองที่ 20 ปี ยิ่งเวลาผ่านไปมูลค่าสัญญายิ่งลดลงตามจำนวนปีที่เหลือในสัญญา ทำให้ต้องตัดเป็นค่าใช้จ่าย

ข้อดีค่าเสื่อมและค่าตัดจำหน่าย(Depreciation &Amortization):

สำหรับข้อดีของค่าเสื่อม (Depreciation)และค่าตัดจำหน่าย(Amortization) คือ ทำให้การจ่ายภาษีลดลง เนื่องจากค่าเสื่อม (Depreciation)และค่าตัดจำหน่าย(Amortization)เป็นค่าใช้จ่าย เลยทำให้กำไรลดลงและส่งผลให้ภาษีลดลงไปด้วยเพราะ ภาษีคิดจากกำไรสุทธิของบริษัทนั่นเอง

ความเห็นที่แตกต่างเกี่ยวกับค่าเสื่อมและค่าตัดจำหน่าย(Depreciation &Amortization):

ค่าเสื่อมและค่าตัดจำหน่าย(Depreciation &Amortization)และค่าตัดจำหน่ายนั้นหลายๆคนมองว่าไม่ใช่ค่าใช้จ่ายที่แท้จริงทำให้นำค่าใช้จ่ายนี้นำกลับมาคำนวณเป็นกำไร แต่อีกมุมมองหนึ่งมองว่าถึงแม้จะไม่ได้จ่ายเป็นเงินสดโดยตรงสำหรับค่าใช้จ่ายแต่ก็เป็นเงินที่ต้องสำรองไว้เพราะในวันข้างหน้า ค่าสัมปทานที่ต้องต่อสัญญาใหม่ ค่าตึกที่ต้องซ่อมแซมหรือสร้างใหม่ ทำให้เราต้องบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายไว้ในการเตรียมเงินสำหรับการลงทุนในอนาคต

ไม่มีผิดไม่มีถูกครับแล้วแต่มุมมองครับสำหรับเรื่องนี้ เพื่อนๆลองชั่งใจดูครับว่าเราควรนำค่าเสื่อมและค่าตัดจำหน่าย(Depreciation &Amortization)นำกลับมาคำนวณเป็นกำไรรึเปล่า

อ่านบทความอื่นเกี่ยวกับการอ่านงบการเงินที่นี่