DeFi (Decentralized Finance) คืออะไรกันนะ ทำไมทุกคนถึงสนใจ
DeFi (Decentralized Finance) เป็นที่พูดถึงหลังจากกระแสของ Cryptocurrency มาแรง ที่เรารู้กันอยู่ก็คือ Cryptocurrency มีเป้าหมายเข้ามาแทนค่าเงินในปัจจุบัน เช่น ดอลลาร์ เงินบาท ซึ่งเราเรียกว่า Fiat money
สำหรับ DeFi (Decentralized Finance) นั้นแปลตรงตัวแปลว่า ระบบการเงินที่ไม่มีตัวกลาง หรือระบบการเงินที่ไร้ศูนย์กลาง เป็นระบบการเงินในฝันหลายๆคน เพราะทุกวันนี้เราจะเห็นได้จากธนาคารต่าง ๆ ทั่วโลกเป็นของคนรวย หาเงินง่าย นำเงินฝากประชาชนไปปล่อยกู้ในอัตราดอกเบี้ยที่สูงเพื่อได้รับผลตอบแทน แถมเมื่อมีธนาคารโอกาสล้มละลายทางรัฐบาลกลางของประเทศก็เข้าไปเอาเงินภาษีประชาชนเข้าไปอุดหนุน มันถึงเวลาแล้วที่ประชาชนจะเข้ามาดูแลชีวิตของตัวเอง
ระบบธนาคารเป็นระบบที่ตรงข้าม DeFi (Decentralized Finance) ซึ่งเราเรียกย่อๆว่า CeFi (Centralized Finance) โดยพวกเขามีการก่อตั้งมาระยะเวลานาน
การที่ผมพูดถึงธนาคารเนื่องด้วยเป็นตัวอย่างที่ง่ายที่สุด แต่จริงๆแล้วระบบการเงิน CeFi นั้นยังรวมถึงการเงินต่าง ๆ เช่น ระบบตัวกลางหน้าหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ หรือเราเรียกว่า Broker นั่นเอง
DeFi (Decentralized Finance) เกิดจากความต้องการทำลายระบบ ตัวกลางของระบบการเงิน โดยอาศัยเทคโนโลยีการเงินในปัจจุบันอย่าง Smart Contract และ Blockchain ในการที่จะทำธุรกรรรม ต่างๆโดยปราศจากตัวกลาง
ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจก่อนว่าในสมัยที่เทคโนโลยียังไม่พัฒนาการทำธุรกรรมทางการเงินต่างๆ ต้องอาศัยตัวกลาง เพื่อความมั่นใจว่าจะไม่โดนเบี้ยว มันมีความจำเป็นอย่างยิ่งในยุคสมัยนั้น แต่อย่างที่กล่าวมาเทคโนลยีกำลังพัฒนาไปอย่างรวดเร็วเราไม่ต้องอาศัยตัวกลางที่น่าเชื่อถืออีกต่อไป เราอาศัยความน่าเชื่อถือของเทคโนโลยีดีกว่าในการทำธุรกรรม
สำหรับ DeFi (Decentralized Finance) ในปัจจุบันเรียกได้ว่ามีบริการแทบทุกอย่างของระบบการเงินแบบเก่า แต่จะมีไม่กี่ประเภทที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน
การซื้อขายหลักทรัพย์ที่ไร้ตัวกลางแบบ DeFi (Decentralized Finance)
ในสมัยเดิมการซื้อขายหลักทรัพย์ต่าง ๆ จะทำการซื้อขายโดยผ่านตัวกลางเพื่อมั่นใจว่าจะมีการส่งมอบหลักทรัพย์จริงสำหรับคนซื้อ และได้รับเงินจริงสำหรับคนขายหลักทรัพย์ ตัวกลางต่าง ๆจะได้รับผลตอบแทนในรูปค่าธรรมเนียมเป็นการตอบแทน แต่ในปัจจุบันเราสามารถซื้อขายหลักทรัพย์ โดยเฉพาะ Cryptocurrency โดยปราศจากตัวกลาง แต่อาศัยระบบ Blockchain และ Smart Contract เข้ามาทดแทนทำให้มั่นใจว่าจะได้รับหลักทรัพย์สำหรับคนซื้อ และมั่นใจได้รับเงินสำหรับคนขาย
ระบบการกู้ยืมแบบ DeFi (Decentralized Finance)
แต่สำหรับ DeFi (Decentralized Finance) แล้ว ที่ได้รับความนิยมและพูดถึงมากสุดก็คือระบบการกู้ยืมนี่แหละ เพราะเป็นสิ่งดึงดูดคนที่อยากได้รับผลตอแทนมารวมตัวกัน โดยระบบ DeFi (Decentralized Finance) จะทำการปล่อยกู้ให้กับคนที่ต้องการเงินโดยเฉพาะในรูปแบบเหรียญ Cryptocurrency และคนปล่อยกู้จะได้รับดอกเบี้ยในรูปแบบของ Cryptocurrency โดยมีการทำสัญญาบน Smart Contract ทำให้มีโอกาสโดนเบี้ยวน้อย
ระบบ DeFi (Decentralized Finance) ก็มีจุดอ่อน
สำหรับระบบ DeFi (Decentralized Finance) ในปัจจุบันก็ยังมีจุดอ่อนตรงผู้ใช้งานที่ขาดความรู้โดยเฉพาะในเรื่องของเทคโนโลยี ทำให้มีโอกาสที่จะถูกหลอกถูกโกงจากคนพัฒนาระบบได้ หรือถูก Hack เหรียญออกไปจากระบบจะเห็นได้จากข่าวมากมายที่มีการโกงจนทำให้ประชาชนเสียหาย แต่ถ้าเรามีความรู้ด้านเทคโนโลยีความปลอดภัยก็จะเพิ่มขึ้น แต่นักวิจารณ์ก็ยังคงวิจารณ์ว่า DeFi (Decentralized Finance) ไม่ได้เหมาะกับคนทั่วไปถ้ายังต้องมีความรู้ลึกๆ เพื่อป้องกันความเสี่ยงของตัวเอง
สุดท้ายแล้วเราจะเลือกระบบการเงินผ่าน DeFi (Decentralized Finance) หรือ CeFi (Centralized Finance) นั้นขึ้นอยู่กับตัวเองเลย เราเป็นผู้เลือกเองแต่ให้ระลึกอยู่เสมอว่าทุกสิ่งมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ถ้าเราหาข้อเสียหรือข้อดีบางอย่างไม่เจอเราก็ไม่ควรเข้าไปยุ่งเกี่ยวด้วย