เจาะลึกบริษัท เชียงใหม่รามธุรกิจการแพทย์ จำกัด (มหาชน) หรือ CMR พร้อมวิเคราะห์ผ่าน Five Forces Model

ช่วยแชร์ต่อนะครับ

บริษัท เชียงใหม่รามธุรกิจการแพทย์ จำกัด (มหาชน) หรือ CMR มีทุนจดทะเบียนทั้งสิ้น 4,084,333,300 หุ้น ในมูลค่าหุ้นละ 0.10 บาท มีทุนชำระแล้วทั้งสิ้น 4,023,125,000 หุ้น สำหรับบริษัท เชียงใหม่รามธุรกิจการแพทย์ จำกัด (มหาชน) หรือ CMR มีโรงพยาบาลหลัก ๆ ที่ให้บริการ นั่นก็คือ โรงพยาบาลลานนา โรงพยาบาลลานนา 2 และโรงพยาบาลลานนา 3 เป็นโรงพยาบาลเอกชนที่ให้บริการเตียง 210 เตียง มีการรักษาทั้งโรคทั่วไปและโรคเฉพาะทาง สามารถเข้ารับการรักษาได้ตลอด 24 ชั่วโมงเลยทีเดียว

บริษัท เชียงใหม่รามธุรกิจการแพทย์ จำกัด (มหาชน) หรือ CMR

ก่อตั้งขึ้นในปี 2517 เพื่อประกอบธุรกิจการให้บริการในฐานะโรงพยาบาลภายใต้ชื่อ โรงพยาบาลลานนา

ในปี 2537 ตลาดหลักทรัพย์ได้อนุมัติให้มีการจดทะเบียนโดยให้ไปอยู่ในหมวดทางการแพทย์

ในปี 2539 บริษัท โรงพยาบาลธนบุรีได้เข้าร่วมการลงทุนแต่ต่อมาได้จำหน่ายหุ้นให้บุคคลอื่น

ในปี 2550 ได้ออกเพิ่มทุนไม่เกิน 22,843,333 หุ้น เพื่อแลกเปลี่ยนกับหุ้นบริษัท เชียงใหม่ราม จำกัด ในราคา 1 หุ้นเพิ่มทุน ต่อ 1 หุ้นของบริษัท เชียงใหม่ราม จำกัด ซึ่งบริษัทเชียงใหม่รามประกอบด้วย โรงพยาบาลเขลางค์นคร โรงพยาบาลพะวอ โรงพยาบาลเทพปัญญา โรงพยาบาลช้างเผือก และโรงพยาบาลเชียงใหม่ราม

ในปี 2554 บริษัท โรงพยาบาลวิภาวดี จำกัด (มหาชน) ได้ยื่นเสนอซื้อหุ้นจากผู้ถือหุ้นเดิม ได้หุ้นมาทั้งหมด 33,694,722,หุ้น คิดเป็น 83.75 เปอร์เซ็น

ในปี 2556 บริษัท เชียงใหม่รามธุรกิจการแพทย์ จำกัด (มหาชน) หรือ CMR ได้ทำการเสนอซื้อหุ้น บริษัทโรงพยาบาลหริภุญชัย เมโรเรียล จำกัด จำนวน 26,010,000 หุ้น หรือ 86.70 เปอร์เซ็น

ในปี 2558 บริษัท เชียงใหม่รามธุรกิจการแพทย์ จำกัด (มหาชน) หรือ CMR ได้ซื้อหุ้นบริษัทกัสซัน มารีนา กอล์ฟ คลับ จำกัด 1ล้านสองแสนหุ้น

ในปี 2561 บริษัท เชียงใหม่รามธุรกิจการแพทย์ จำกัด (มหาชน) หรือ CMR ได้ทำการก่อสร้างโรงพยาบาลลานนา 3 บนเนื้อที่ 29 ไร่ 56 ตารางวา ซึ่งเป็นโรงพยาบาล 220 เตียง และนอกจากนั้นได้เข้าร่วมลงทุนในบริษัท โรงพยาบาลรามคำแหง เชียงใหม่จำกัด โดยเปิดในนาม โรงพยาบาลรามคำแหง เชียงใหม่ คาดว่าจะเปิดให้บริการในปี 2565

โครงสร้างรายได้ประกอบด้วย 3 ส่วนสำหรับรายได้เฉพาะบริษัทหลัก

  1. ผู้ป่วยทั่วไปที่จะมีรายได้ประมาณ 49 ถึง 60 เปอรเซ็นของรายได้ทั้งหมด ดังนั้นผู้ป่วยทั่วไปเป็นรายได้หลักของบริษัท เชียงใหม่รามธุรกิจการแพทย์ จำกัด (มหาชน) หรือ CMR
  2. รายได้ผู้ป่วยประกันสังคม รายประมาณ 33 ถึง 45 เปอร์เซ็นของรายได้ทั้งหมด ถือว่าเป็นรายได้อันดับที่ 2 ของบริษัท เชียงใหม่รามธุรกิจการแพทย์ จำกัด (มหาชน) หรือ CMR
  3. รายได้อื่นๆ

วิเคราะห์บริษัท เชียงใหม่รามธุรกิจการแพทย์ จำกัด (มหาชน) หรือ CMR ผ่าน Five Force Model

การคุกคามของผู้แข่งขันรายใหม่  (Threat of new entrants)

ด้วยการประกอบธุรกิจโรงพยาบาลเป็นการประกอบธุรกิจที่ไม่ได้ง่ายเลย ต้องมีการลงทุนสูง ผ่านการรับรองจากหน่วยงานต่าง ๆว่าได้มาตรฐาน เพราะเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับความเป็นความตายของคน ดังนั้นการเข้ามาของคู่แข่งรายใหม่จะทำได้ยาก

การคุกคามของสินค้าทดแทน (Threat of substitutes)

สินค้าทนแทนหลักๆโรงพยาบาลเอกชนก์คือ โรงพยาบาลรัฐ แต่เนื่องปริมาณผู้ป่วยและศักยภาพการรับผู้ป่วยของโรงพยาบาลรัฐไม่สอดคล้องกัน ทำให้โรงพยาบาลรัฐมาทดแทนโรงพยาบาลเอกชนได้ยาก สำหรับสินค้าทางเลือกอื่นอย่าง คลีนิค และร้านยาไม่สามารถตอบโจทย์ลูกค้าที่ป่วยระดับกลางขึ้นไปได้ คลีนิคและร้านยาทำได้เพียงรักษาการป่วยเบื้องต้นเท่านั้น

อำนาจการต่อรองลูกค้า (Bargaining power of customers)

สำหรับโรงพยาบาลถือว่าเป็นสินค้าจำเป็น ลูกค้าของบริษัท เชียงใหม่รามธุรกิจการแพทย์ จำกัด (มหาชน) หรือ CMR ส่วนใหญ่เป็นลูกค้าระดับกลางและระดับบน ทำให้ไม่มีการต่อรองจากลูกค้ามากนัก

อำนาจการต่อรองของซัพพลายเออร์ (Bargaining power of suppliers)

ด้วยการให้ผลิตยาและเวชภัณฑ์ในประเทศไทยมีจำนวนมาก ทำให้บริษัท เชียงใหม่รามธุรกิจการแพทย์ จำกัด (มหาชน) หรือ CMRสามารถต่อรองการซื้อได้ ดังนั้นอำนาจการต่อรองของซัพพลายเออร์ (Bargaining power of suppliers) จึงอยู่ในระดับต่ำ

การแข่งขันในอุตสาหกรรม (Competitive rivalry)

เมื่อรวมจำนวนเตียงทั้งหมดในกลุ่มในเครือบริษัททั้งหมดพบว่าบริษัท เชียงใหม่รามธุรกิจการแพทย์ จำกัด (มหาชน) หรือ CMR มีจำนวนเตียงมากที่สุด รองลงมาคือโรงพยาบาลแมคคอร์มิคที่มี 400 เตียง