วงจรเงินสด (Cash Conversion Cycle) คืออะไร? ทำไมถึงต้องให้ความสำคัญ?
วงจรเงินสด (Cash Conversion Cycle) คือการประเมินโดยการใช้เวลา (หลักวัน) ในการวัดการลงทุนของบริษัทในการเปลี่ยนสินค้าเป็นเงินสดจากการขายของ
สำหรับวงจรเงินสด (Cash Conversion Cycle)จะสามารถระบุได้ว่าเราต้องใช้เวลากี่วันในการขายสินค้าคงเหลือ ใช้ระยะเวลากี่วันในการเก็บหนี้จากลูกหนี้ที่ซื้อของเรา และระยะเวลากี่วันในการจ่ายค่าใช้จ่ายหนี้ต่างๆ
สำหรับวงจรเงินสด (Cash Conversion Cycle) ตัวเลขยิ่งน้อยยิ่งดี ถ้าหากบริษัทไหนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นของวงจรเงินสด (Cash Conversion Cycle) เราต้องทำการหาสาเหตุว่าทำไมวงจรเงินสด (Cash Conversion Cycle)ของบริษัทเพิ่มขึ้น
สูตรการคำนวณวงจรเงินสด (Cash Conversion Cycle)
วงจรเงินสด (Cash Conversion Cycle) = ระยะเวลาการขายสินค้า + ระยะเวลาการเก็บหนี้ – ระยะเวลาจ่ายหนี้
เมื่อเราพิจารณาการคำนวณวงจรเงินสด (Cash Conversion Cycle)แล้ว เราจะเห็นว่าระยะเวลาการขายสินค้าและระยะเวลาการเก็บหนี้ก็คือระยะเวลาที่เราจะได้เงินสดกลับเข้ามาที่บริษัท แต่ระยะเวลาจ่ายหนี้จะเป็นระยะเวลาที่เอาเงินออกบริษัท ตามหลักการแล้วเราต้องนำเงินเข้าบริษัทให้ได้เร็วที่สุดและนำเงินออกบริษัทให้ช้าที่สุด
วงจรเงินสด (Cash Conversion Cycle) สูง หมายถึง เราสามารถหาเงินเข้าบริษัทได้ช้า ดังนั้นบริษัทควรปรับปรุงการขายสินค้าการเก็บเงินลูกหนี้ รวมถึงการลดระยะเวลาการจ่ายเงิน
วงจรเงินสด (Cash Conversion Cycle) ต่ำ หมายถึง เราสามารถหาเงินเข้าบริษัทได้เร็ว ทำให้สามารถนำเงินไปใช้จ่ายต่อยอดได้เร็ว
ถ้าหากเราเป็นเจ้าของบริษัทหรือเป็นผู้ถือหุ้นอยากแนะนำฝ่ายบริหารสำหรับบริษัทมีวงจรเงินสดสูงจะแก้ไขอย่างไร
- การขายสินค้า สำหรับการขายสินค้าเราควรที่จะมีมาตรการกระตุ้นการทำการตลาดเพื่อให้สินค้า ขายออกไปได้รวดเร็วมีการทำ Promotion เพิ่มยอดขาย
- ลูกหนี้การค้า สำหรับลูกหนี้การค้าเราควรที่จะมีการต่อรอง หรือมีส่วนลดจูงใจให้ลูกหนี้จ่ายเงินเร็วยิ่งขึ้น ในบางกรณีที่บริษัทไม่มีศักยภาพในการเก็บเงินลูกหนี้ควรที่จะเปลี่ยนเป็นขายรับเงินสดแทน การขายเงินเชื่อ
- การชำระหนี้ เราควรที่จะต่อรองขยายระยะเวลาการชำระหนี้ เพื่อป้องกันการขาดสภาพคล่องของเงินบริษัท