ผลการดำเนินงานธนาคารพาณิชย์ไตรมาส 1 ปี 2562 ผ่านมุมมองธนาคารแห่งประเทศไทย

ช่วยแชร์ต่อนะครับ

ธนาคารแห่งประเทศไทยได้แถลงเกี่ยวกับผผลการดำเนินงานของธนาคารพาณิชย์ในไตรมาส 1 ปี2562 ที่ผ่านมา ผมว่าน่าสนใจเพราะมุมมองของธนาคารแห่งประเทศไทยจะส่งผลต่อนโยบายต่างๆในอนาคตเกี่ยวกับธนาคารพาณิชย์ครับ

การปล่อยสินเชื่อ

สินเชื่อธนาคารพาณิชย์โดยรวมชะลอตัวลง ส่วนหนึ่งมาจากการชำระคืนหนี้ของบริษัทขนาดใหญ่โดยก่อนหน้านี้โดยก่อนหน้านี้มีการระดมทุนผ่านตราสารหนี้เพื่อนำเงินมาชำระคืน อย่างไรก็ตามสินเชื่ออุปโภคบริโภคดีต่อเนื่อง

สำหรับสินเชื่อธุรกิจจะมีการเติบโตขึ้นโดดเด่น 3 หมวด

– สาธารณูปโภค โตถึง 8.3% สอดคล้องกับการลงทุนการผลิตไฟฟ้าที่ขยายตัวขึ้น

– อสังหาริมทรัพย์ขยายตัวได้ 9.6% แต่ช่วงก่อนโตถึง 12.5%

– ก่อสร้างโตถึง 9.7%

ตามสภาพัฒน์แถลงถึงแม้ GDP โต 2.8% แต่การบริโภคแต่การบริโภคภาคเอกชนยังขยายตัวได้ 4.6%และมีการแข่งขันการปล่อยสินเชื่อให้กับรายย้อยระหว่างธนาคารและ Non-bank ทำให้มีการเร่งตัวค่อนข้างสูงของสินเชื่ออุปโภคบริโภค และการเร่งปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยของสถาบันการเงินก่อนที่ LTV จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 เมษายนที่ผ่านมาที่โต 17.4% นอกจากนั้นสินเชื่อรถยนต์ก็โตถึง 11.4% ทำให้สินเชื่อการบริโภคโตขึ้นถึง 10.1%

NPL

ภาพรวมคุณภาพสินเชื่อ NPL ยังทรงตัวอยู่ที่ 2.94% เท่ากับไตรมาสก่อนส่วนหนึ่งมาจากการที่ธนาคารพาณิชควบคุมโดยต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามคุณภาพสินเชื่อยังคงต้องติดตาม คือสินเชื่อ SME ที่มีแนวโน้ม NPL เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะ SME ขนาดเล็ก รวมถึงสินเชื่อที่อยู่อาศัย และรวมถึงสินเชื่อรถด้วย

กำไรสุทธิ

กำไรสุทธิธนาคารพาณิชย์ยังคงเพิ่มอยู่ จากสามเรื่องด้วยกัน

-รายได้ดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นตามสินเชื่อที่เพิ่มขึ้น

– รายได้จากรายการพิเศษเกิดขึ้นครั้งเดียว

– ค่าใช้จ่ายการตั้งสำรองลดลงจากการเลื่อน IFRS9 ไปปีหน้า

แต่ถ้าหักปัจจัยค่าธรรมเนียมแล้ว กำไรธนาคารพาณิชย์ก็ไม่ได้โตประทับใจมากเท่าไหร่ มาดูที่ค่าธรรมเนียมตอนนี้ ธนาคารพาณิชย์มีรายได้ตรงนี้ลดลง จากการมีการใช้ Mobile banking, Internet banking เพิ่มขึ้น สำหรับค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับพนักงานเพิ่มขึ้นจากการตั้งสำรองผลประโยชน์พนักงานตามกฎหมาย ทั้งสองประเด็นจะค่อยๆลดบทบาทกำไรธนาคารพาณิชย์ลงเพราะ มีการใช้มาสัพกจะทำให้ไม่มีฐานที่สูง

ระบบธนาคารยังคงแจ็งแรง เงินสำรอง เงินกองทุน และสภาพคล่องมีสูงเพียงพอต่อการขยายตัวเศรษฐกิจในระยะต่อไป

สรุปแล้ว

สินเชื่อก็ยังชะลอตัว แต่ไม่ต้องกัวลมากเท่าไหร่ครับเพราะ NPL ไม่ได้เพิ่มขึ้นเท่าไหร่ แถมสภาพคล่องธนาคารพาณิชย์ก็ยังอยู่สูง

ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย