เจาะลึก 3 ปัจจัยที่ทำให้ไทยปรับอัตราดอกเบี้ยต่ำสุดในประวัติศาสตร์

ช่วยแชร์ต่อนะครับ

คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในบ่ายวันนี้ได้มีมติเอกฉันท์ให้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีก 0.25% ทำให้ล่าสุดดอกเบี้ยนโยบายของไทยอยู่ที่ 1% ซึ่งจะพบว่าเป็นระดับที่ต่ำที่สุดเท่าที่มีการกำหนดนโยบายเงินเฟ้อแบบยืดหยุ่น สิ่งที่ทำให้คณะกรรมการนโยบายการเงินลดอัตราดอกเบี้ยเนื่องจากมองว่าเศรษฐกิจไทยปี 2563 จะโตต่ำกว่า 2.8% จึงมีความจำเป็นต้องลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นเศรษกิจ ทีนี้เรามาดูว่าสาเหตุมีอะไรบ้างที่จะทำให้เศรษฐกิจเราโตแค่ 2.8% พบว่ามี 3 ปัจจัยคือ การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา ความล่าช้าของ พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจำปี และ ภัยแล้ง

coronavirus

การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา

ไวรัสโคโรน่าที่แพร่กระจายในตอนนี้กระทบต่อเศรษฐกิจไทยอย่างมากเพราะว่านักท่องเที่ยวที่จำนวนมากที่สุดมาเที่ยวไทยคือนักท่องเที่ยวจีน และประเทศไทยเป็นประเทศที่พึ่งพาการท่องเที่ยวอย่างมาก ดังนั้นการที่นักท่องเที่ยวจีนหายไปจำนวนมากจากมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาของรัฐบาลจีนย่อมส่งผลเสียกับประเทศไทย

นอกจากเรื่องของท่องเที่ยวแล้ว คู่ค้าที่สำคัญของประเทศไทยก็ยังมีจีนเป็นอันดับต้นๆของมูลค่าการส่งออกนำเข้าของประเทศ การชะงักของเศรษฐกิจจีนจากไวรัสโคโรนาย่อมส่งผลต่อการค้าระหว่างประเทศ

ความล่าช้าของ พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจำปี

ความล่าช้าของ พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจำปี เกิดจากปัญหาเรื่องความชอบธรรมในการออกพระราชบัญญัติจากการมีข้อสันนิษฐานว่ามีการเสียบบัตรแทนกันทำให้ต้องส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าพระราชบัญญัตินี้ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ความล่าช้าของงบประมาณรัฐทำให้เศรษฐกิจขาดเม็ดเงินที่จะต้องหมุนเข้าระบบจำนวนมาก

ภัยแล้ง

มีการเปรียบเทียบกันระหว่างระดับน้ำในเขื่อนของมกราคมปี2563 และมกราคมปี 2562 พบว่าปริมาณน้ำลดลงถึง 14% และตอนนี้ในเขื่อนใหญ่ ๆต่างพบว่าระดับปริมาณน้ำอยู่ในขั้นวิกฤตแล้ว

ปัญหาภัยแล้งส่งผลต่อเกษตรกรไทยอย่างมากในการเพาะปลูกที่ตอนนี้ไม่สามารถสร้างผลผลิตได้เท่าที่ควร และมิหนำซ้ำยังต้องเจอกับปัญหาเศรษฐกิจโลกที่จะกระทบต่อราคาสินค้าเกษตรให้มีราคาต่ำลง