งบไตรมาส 1 ปี 2562กำไรกรุงศรี(BAY) เพิ่มมากกว่า 100%

ช่วยแชร์ต่อนะครับ

กำไรสุทธิ

12,737 ล้านบาท เพิ่มขึ้น108.5% จากไตรมาสก่อน และ 104.9 จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน

ถ้าหักผลจากการบันทึกกำไรจากการขายหุ้น จำนวน 50% ของบริษัท เงินติดล้อ จำกัด และค่าใช้จ่ายเพื่อรองรับประมาณการหนี้สิน จากการชดเชยกรณีพนักงานเกษียณและเลิกจ้าง กำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 819 ล้านบาท หรือ 13.4% จากไตรมาส ก่อน และ 714 ล้านบาท หรือ 11.5 %จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน

เงินให้สินเชื่อ

เพิ่มขึ้น 2.3% หรือจำนวน 37,560 ล้านบาท จากไตรมาสก่อน

การเติบโตของเงินรับฝาก

เพิ่มขึ้น 2.7 %หรือ 39,029 ล้านบาท เทียบกับสินปีล่าสุด โดยส่วนใหญ่มาจากการเพิ่มขึ้นของเงินรับฝากประจำ

ส่วนต่างอัตราดอกเบียสุทธิ (NIM)

3.79 % ขณะที่ไตรมาสที่แล้วอยู่ที่ 3.95%

รายได้ที่มิใช่ดอกเบี

เพิ่มถึง 8,585 ล้านบาท หรือ 98.1% จากไตรมาสก่อน ปัจจัยหลักมาจากการบันทึกกำไรจากการขายหุ้น 50 %ของบริษัท เงินติดล้อ ถ้าไม่รวมกำไรจากการขายหุ้น 50 %ของบริษัท เงินติดล้อ รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยลดลง  0.5 % หรือ 40 ล้านบาท เทียบกับไตรมาสก่อน และ 1.7%  หรือ 155 ล้านบาท จากไตรมาสแรกของปี 2561

อัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้

38.7% เพิ่มขึ้นจาก 48.7% ในไตรมาสก่อนหน้านี้  ถ้าไม่รวมกำไรจากการขายหุ้น 50 %ของบริษัท เงินติดล้อ และค่าใช้จ่ายเพื่อรองรับประมาณการหนี้สินที่เพิ่มขึ้นจากการชดเชยกรณีพนักงานเกษียณและเลิกจ้างตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน อัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้อยู่ที 46.4%

อัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพ

1.99% ลดลงจาก 2.08% ของสิ้นปี2561

อัตราส่วนเงินสำรองต่อสินเชื่อด้อยคุณภาพ 

165.7% เพิ่มขึ้นจาก 160.8% จากสิ้นปี2561

อัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง

14.91%

รายได้ดอกเบี้ย

27,488 ล้านบาท ลดลง 2.1% หรือ 603 ล้านบาท จากไตรมาสที่ผ่านมา

– ดอกเบี้ยจากรายการระหว่างธนาคารและตลาดเงินลดลง 28.7% หรือ 425 ล้านบาท ส่วนใหญ่จากการลดลงของรายได้ดอกเบี้ยจากรายการระหว่างธนาคารและตลาดเงิน

– ดอกเบี้ยจากเงินให้สินเชื่อลดลง 0.9 % หรือ 173 ล้านบาท สะท้อนการปรับสมดุลของพอร์ตสินเชื่อไปยังสินเชื่อเพื่อธุรกิจ โดยเฉพาะการเพิ่มขึ้นในส่วนของเงินให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจขนาดใหญ่และสินเชื่อเพื่อธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ขณะที่สินเชื่อเพื่อรายย่อยไม่มีหลักประกัน อย่าง บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลปรับลดลง

ค่าใช้จ่ายดอกเบี้ย

8,076 ล้านบาท ลดลง 3.4% หรือ280 ล้านบาท จากไตรมาสก่อน

รายได้ดอกเบี้ยสุทธิ  

19,412 ล้านบาท ลดลง 1.6% หรือ 323 ล้านบาทถ้าเทียบกับปีก่อนเพิ่ม 7.7% หรือ 1,963 ล้านบาท

อัตราดอกเบี้ยสุทธิ

 3.79% สำหรับไตรมาสก่อนหน้าอยู่ที่ 3.95%

สินเชื่อ

สินเชื่อเพื่อธุรกิจขนาดใหญ่อยู่ที่ 645,882 ล้านบาทประกอบด้วยบรรษัทไทยและบรรษัทญี่ปุ่นและบรรษัทข้ามชาติ เพิ่มขึ้น 3.1% หรือ 19,712 ล้านบาท จากสิ้นปี 2561

 – บรรษัทไทยอยู่ที่ 435,196 ล้านบาทเพิ่ม 2.9% หรือ 12,285 ล้านบาทจากปีก่อน

– บรรษัทญี่ปุ่นและบรรษัทข้ามชาติ (JPC/MNC)อยู่ที่ 210,686 ล้านบาท เพิ่ม 3.7% หรือ 7,427 ล้านบาทจากปีก่อน

สินเชื่อเพื่อธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)อยู่ที่ 257,131ล้านบาท เพิ่ม 2.6% หรือ 6,632 ล้านบาทจากปีก่อน

สินเชื่อเพื่อรายย่อย (Retail)อยู่ที่ 806,655ล้านบาท เพิ่ม 1.4% หรือ 11,306 ล้านบาทจากปีก่อน

– สินเชื่อเช่าซื้อ (Hire purchases)  อยู่ที่ 377,788 ล้านบาทเพิ่ม 2.9% หรือ 10,589 ล้านบาทจากปีก่อน

– สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย (Mortgage) อยู่ที่ 255,912 ล้านบาทเพิ่ม 2.2% หรือ 5,428 ล้านบาทจากปีก่อน -สินเชื่อบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล(Credit card and personal loans) อยู่ที่ 172,955 ล้านบาท ลดลง 2.7% หรือ 4,711 ล้านบาท