เจาะลึก กบข.-กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ

ช่วยแชร์ต่อนะครับ

กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการมีลักษณะคล้ายกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ มีการหักเงินจากเงินเดือนของพนักงาน และมีการสมทบจากนายจ้างเพื่อนำเงินไปลงทุนในสินทรัพย์ประเภทต่างๆ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้พนักงานมีเทรัพย์สินเพียงพอหลังจากเกษียณ

เพียงแต่กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) จะให้บริการเฉพาะข้าราชการเท่านั้น มีด้วยกัน 12 ประเภท

  1. ข้าราชการทหาร
  2. ข้าราชการตำรวจ
  3. ข้าราชการฝ่ายตุลาการ
  4. ข้าราชการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ
  5. ข้าราชการศาลปกครอง
  6. ข้าราชการสำนักคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
  7. ข้าราชการรัฐสภาสามัญ
  8. ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
  9. ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
  10. ข้าราชการฝ่ายอัยการ
  11. ข้าราชการสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน
  12. ข้าราชการพลเรือน

สำหรับการบริหารจัดการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) จะมีการตั้งคณะกรรมการ จะกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) จะมีหน้าที่ออกกฎระเบียบ นโยบาย การบริหารกองทุน กำหนดนโยบายการลงทุนซึ่งจะมีด้วยกันทั้งหมด 25 คน ประกอบด้วย

  1. กรรมการผู้แทนรัฐจำนวน 9 คน
  2. กรรมการผู้แทนสมาชิก 3 คน
  3. เลขาธิการคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ซึ่งจะเป็นกรรมการและเลขานุการสรรหาและแต่งตั้งโดยคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)

สำหรับเงินที่สมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ที่นำไปลงทุนในกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)ประกอบด้วย 2 ส่วน

  1. เงินสมทบที่ทางภาครัฐจะให้โดยคิดเป็นมูลค่า 3 เปอร์เซ็นของเงินเดือน
  2. เงินสะสมของสมาชิกโดยการหักเงินเดือน 3 ถึง 15 เปอร์เซ็น

สำหรับเงินสะสมของสมาชิกเราสามารถเลือกได้ว่าจะให้หักเงินเดือนเรากี่เปอร์เซ็นต่ำสุด 3 เปอร์เซ็น สูงสุด 15 เปอร์เซ็น ยิ่งเราหักเงินสะสมมากเท่าไหร่เงินที่ลงในกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)ยิ่งมากขึ้น หมายความว่าเงินที่เราจะสามารถใช้ได้หลังเกษียณยิ่งมากขึ้น

เงื่อนไขในการจะนำเงินกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ออกมาใช้

  1. สิ้นสุดสภาพการเป็นข้าราชการไม่ว่าจะเป็นการเกษียณ ลาออก ปลดออก ไล่ออก
  2. เสียชีวิต

กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)สามารถลดหย่อนภาษีได้โดยมีเงื่อนไขดังนี้

สามารถดลดหย่อนได้ตามที่จำนวนเงินที่เราหักเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) แต่เมื่อรวมกับ RMF กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชนไม่เกิน 500,000 บาท

แผนการลงทุนมีให้เลือกหลากหลาย

  1. แผนหลัก จะมีโครงสร้างการลงทุนตราสารทุน 18 เปอรเซ็น ตราสารหนี้ 67 เปอร์เซ็น อื่นๆ 15 เปอร์เซ็น
  2. แผนตลาดเงิน จะลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้นในไทย 100 เปอร์เซ็น
  3. แผนตราสารหนี้ จะลงทุนในตราสารหนี้เอกชนไทย 25 เปอร์เซ็น ตราสารหนี้ภาครัฐไทย 40 เปอร์เซ็น เงินฝาก 35 เปอร์เซ็น
  4. แผนผสมหุ้นทวี จะลงทุนในตราสารทุน 35 เปอร์เซ็น ตราสารหนี้ 51 เปอร์เซ็น อื่นๆ 14 เปอร์เซ็น
  5. แผนสมดุลตามอายุ จะทำการลงทุนโดยการประเมินความเสี่ยงตามอายุ ยิ่งอายุเยอะจะทำการลดการลงทุนที่มีความเสี่ยงอย่างตราสารทุนโดยอัตโนมัติ
  6. แผนกองทุนอสังหาริมทรัพย์ไทย จะลงทุนในกองทุนอสังการิมทรัพย์ ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ กองทุนโครงสร้างพื้นฐาน 100 เปอร์เซ็น
  7. แผนตราสารทุนไทย จะลงทุนในตราสารทุนในไทย 100 เปอร์เซ็น
  8. แผนการลงทุนด้วยตนเอง จะสามารถดจัดสัดส่วนการลงทุนเองได้