มาทำความรู้จักเงินได้พึงประเมินที่ใช้ประเมินภาษีทั้ง 8 ประเภทกัน

ช่วยแชร์ต่อนะครับ

สาเหตุที่ภาครัฐได้แบ่งการเก็บภาษีกรมสรรพากรออกเป็นหลายประเภทนั้นเพื่อที่จะสร้างความเท่าเทียมในแต่ล่ะอาชีพ ไม่ให้มีการเหลื่อมล้ำกันเกินขึ้น และนอกจากนั้นยังจะสามารถแยกเป็นประเภทรายได้ที่รัฐควรส่งเสริมให้มีการประกอบอาชีพเพื่อให้ประเทศชาติได้ประโยชน์สูงสุด

เงินได้ประเภทที่ 1

เงินได้ประเภททที่ 1 คิดว่าประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศจะมีความคุ้นเคยมากที่สุด นั่นคือเงินเดือนนั่นเอง มนุษย์เงินเดือนจะกลายเป็นบุคคลที่เสียภาษีเงินได้ประเภทที่ 1

นอกจากนี้ยังรวมถึงรายได้ที่เกิดจากการจ้างงานที่นายจ้างให้เรา ไม่ว่าจะเป็นเบี้ยประชุม โบนัส ค่าเช่าบ้าน เป็นต้น

เงินได้ประเภทที่ 2

เงินได้ประเภทที่ 2 เป็นรายได้ที่เราหาได้จากตำแหน่งหน้าที่ของเรา เช่นตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ตำแหน่งที่ปรึกษา จะอยู่ในรายได้ประเภทนี้ รวมถึงตำแหน่งพนักงานขายที่ได้รับเงินในรูปแบบของ ค่านายหน้า ก็จะอยู่ในรายได้ประเภทที่ 2

เงินได้ประเภทที่ 3

เงินได้ประเภทที่ 3 เป็นเงินได้ที่เกิดจากค่าลิขสิทธิ์ ค่ากู๊ดวิลล์ นิติกรรม คำพิพากษา เงินรายปีจากพินัยกรรม

เงินได้ประเภทที่ 4

เงินได้ประเภทที่ 5 จะเป็นเงินได้สำหรับนักลงทุนที่จะได้รับผลตอบแทนกลับมาไม่ว่าจะเป็น ปันผล ส่วนแบ่งกำไร ดอกเบี้ย

เงินได้ประเภทที่ 5

เงินได้ประเภทนี้ได้จากการที่ให้เช่าทรัพย์สิน และได้ผลตอบแทนในรูปแบบค่าเช่า

เงินได้ประเภทที่ 6

เงินได้ประเภทที่ 6 จะเป็นเงินได้สำหรับผู้ประกอบอาชีพอิสระ เช่น โรคศิลป์ กฎหมาย วิศวะ บัญชี

เงินได้ประเภทที่ 7

เงินได้ประเภทที่ 7 จะเป็นเงินได้สำหรับการรับเหมา ไม่ว่าจะเป็นเหมาก่อสร้าง เหมาผลิตสินค้า

เงินได้ประเภทที่ 8

เงินได้ประเภทที่ 8 .นั้นจะเป็นเงินได้การอุตสาหกรรมการธุรกิจ การพาณิชย์ การขายอสังหาริมทรัพย์การเกษตร การขนส่ง สำหรับรายได้ที่ไม่เข้าประเภทก่อนหน้านี้ทั้ง 7 ประเภทก็ให้เข้าประเภทที่ 8 ด้วยเช่นกัน

ข้อมูลนี้ก็จะทำให้เราสามารถแบ่งแยกรายได้เราแต่ล่ะประเภทให้ถูกต้อง เสียภาษีแบบถูกต้อง สำหรับคนที่มีรายได้จากหลายทางก็ต้องเพิ่มความระมัดระวังมากขึ้น อย่านำมารวมๆก็แล้วส่งข้อมูลให้กรมสรรพากรประเภทเดียว ต้องแยกประเภทให้ถูกต้อง