กำไรขั้นต้น/อัตรากำไรขั้นต้น คืออะไรและบอกอะไร?

ช่วยแชร์ต่อนะครับ

กำไรขั้นต้น = รายได้ – ต้นทุนขาย

รายได้ คือ ยอดขายสินค้า

เช่น ถ้าเราขายปากกาใน 1 เดือนจำนวน 100,000 ชิ้น ราคา 10 บาท

จะได้ยอดขาย 1,000,000 บาท

ต้นทุนขาย คือ ต้นทุนหลักที่ใช้ในการผลิต

เช่น ในการผลิตปากกาเราต้องใช้

ไส้ปากกา 100,000 ชิ้น ราคาชิ้นล่ะ 1 บาท รวมเป็นเงิน 100,000 บาท

ปลอกปากกา 100,000 ชิ้น ราคาชิ้นล่ะ 3 บาท รวมเป็นเงิน 300,000 บาท

จ้างพนักงานประกอบปากกา 30 คน คนล่ะ 10,000 บาทต่อเดือน รวมเป็นเงิน 300,000 บาท

รวมต้นทุนขาย 700,000 บาท          

อ่านบทความ:เจาะลึกต้นทุนขาย

ต่อไปเรามาหากำไรขั้นต้นครับ

กำไรขั้นต้นสำหรับปากกา

จะเท่ากับ 1,000,000 – 700,000 = 300,000 บาท

ลำพังตัวเลขเฉพาะกำไรขั้นต้นบอกอะไรได้น้อยมากในการวิเคราะห์ว่าธุรกิจที่เรากำลังจะลงทุนนั้นดีหรือเปล่า เราเลยต้องใช้อีกตัวเลขหนึ่งก็คือ อัตรากำไรขั้นต้น

อัตรากำไรขั้นต้น = กำไรขั้นต้น หาร รายได้

จากข้อมูลธุรกิจปากกา

จะได้อัตรากำไรขั้นต้น

300,000 หาร 1,000,000 = 30%

นั้นหมายความว่าทุก 100 บาท บริษัทจะได้กำไรขั้นต้น 30 บาท

อัตรากำไรขั้นต้นบอกอะไรเรา?

1.การคาดการณ์กำไรขั้นต้นถ้ายอดขายเพิ่มหรือลดลง

เช่น

ถ้ากำไรเพิ่มขึ้นเป็น 2,000,000 บาท กำไรขั้นต้นจะได้ 2,000,000 x 30% = 600,000 บาท

ถ้ากำไรลดลงเหลือ 500,000 บาท กำไรขั้นต้นจะได้ 500,000 x 30% = 150,000 บาท

2. ความได้เปรียบในการแข่งขันของธุรกิจ

การเพิ่มขึ้นหรือลดลงของอัตรากำไรขั้นต้นจะประกอบด้วย 2 ปัจจัย

  • รายได้

จะแปรผันตามอัตรากำไรขั้นต้น

 ถ้ารายได้เพิ่มขึ้น อัตรากำไรขั้นต้นจะเพิ่มขึ้น

 ถ้ารายได้ลดลง อัตรากำไรขั้นต้นจะลดลง

 แสดงถึงว่าเราสามารถเพิ่มราคาสินค้าได้โดยไม่กระทบจำนวนสินค้าที่ขายได้ แสดงถึงอำนาจการต่อรองกับลุกค้า เราสามารถเพิ่มราคาสินค้าได้โดยลูกค้าไม่สามารถเลี่ยงได้

  • ต้นทุนขาย

จะแปรผกผันตามอัตรากำไรขั้นต้น

ถ้าต้นทุนขายลดลง อัตรากำไรขั้นต้นจะเพิ่มขึ้น

ถ้าต้นทุนขายเพิ่มขึ้น อัตรากำไรขั้นต้นจะลดลง

แสดงถึงว่าเราสามารถลดราคาวัตถุดิบแรงงานลงได้แต่สามารถผลิตสินค้าได้จำนวนเท่าเดิม แสดงถึงเราสามารถต่อรองกับคนขายวัตถุดิบให้เราได้ เรากดราคาวัตถุดิบ แต่ผู้ผลิตวัตดิบก็ขายสินค้าให้เราได้เท่าเดิม

โดยรวมแสดงว่าถ้ายิ่งอัตรากำไรขั้นต้นสูงเท่าไหร่ก็แสดงถึงว่าเรามีอำนาจการต่อรองราคากับลูกค้าและผู้ผลิตวัตถุดิบให้เราได้อย่างดีนั่นเอง