มาทำความเข้าใจภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้ถูกต้อง
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เป็นภาษีที่ทุกคนให้ความสำคัญอย่างมากเพราะเกี่ยวเนื่องกับผู้คนจำนวนมาก ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็น ภาษีที่ได้จัดเก็บจากบุคคลธรรมดาหรือคนทั่วไปที่มีรายได้ทุกชนิด แต่ก็มีข้อยกเว้นได้เมื่อมีกฎหมายกำหนดว่ารายได้จากบุคคลธรรมดาแบบไหนไม่ต้องเก็บภาษี และโดยปกติภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจะเก็บเป็นประจำทุกปี
คนที่มีรายได้จะต้องยื่นแสดงว่าในปีที่ผ่านมามีรายได้เท่าไหร่บ้าง ในเดือนมกราคมถึงมีนาคม ยกเว้นมีประกาศเปลี่ยนแปลง อย่างเช่นในปีที่มีโรคระบาด Covid-19 เพื่อช่วยเหลือประชาชนและกระตุ้นเศรษฐกิจ ทำให้มีการขยายระยะเวลาออกไป
ผู้ที่มีหน้าที่เสียรายได้บุคคลธรรมดามีใครบ้าง?
ผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีบุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากรประกอบด้วย
- บุคคลธรรมดา
- ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
- ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี
- กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง
- วิสาหกิจชุมชนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน เฉพาะที่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
แหล่งเงินที่จะต้องนำมาคำนวณภาษีจะประกอบด้วย 2 แหล่ง
- แหล่งเงินในประเทศ
- แหล่งเงินนอกประเทศ
แหล่งเงินได้ในประเทศ
แหล่งเงินได้ในประเทศนั้นจะนำมาคิดเป็นภาษีบุคคลธรรมดาเมื่อเกิดขึ้นจาก หน้าที่งานที่ทำในประเทศไทย กิจการที่ทำในประเทศไทย กิจการของนายจ้างในประเทศไทย ทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทย
แหล่งเงินได้นอกประเทศ
จะถูกนำมาคิดเป็นภาษีบุคคลธรรมดาต้องเกิดจากหน้าที่งานที่ทำในต่างประเทศ กิจการที่ทำในต่างประเทศ ทรัพย์สินที่อยู่ในต่างประเทศ
สำหรับภาษีเงินได้บุคคลธรรรมดานั้นจะเกิดขึ้นได้ต้องมีองค์ประกอบด้วยกัน 2 ข้อจะขาดข้อใดข้อหนึ่งไม่ได้
1.จะต้องเป็นผู้อยู่ในประเทศไทยในรอบภาษีนั้นๆมากกว่า 180 วัน หากอาศัยอยู่ในประเทศไทยน้อยกว่า 180 วันก็ไม่จำเป็นต้องเสียภาษี
2.เอาเงินเข้ามาในประเทศในรอบภาษีนั้น จะเห็นได้ว่าหลายๆคน ชอบใช้ข้อกฎหมายนี้ในการเลี่ยงภาษีโดยการชะลอการนำเงินเข้ามาในประเทศ
การเสียภาษีเงินได้นอกประเทศถึงแม้จะครบเงื่อนไขการเสียภาษีแต่อยู่ภายใต้สนธิสัญญาภาษีซ้อน สามารถเว้นภาษีการเก็บภาษีได้
ประเภทเงินได้พึงประเมิน แบ่งออกเป็น 7 ประเภท
เงินได้ประเภทที่ 1 ได้แก่ เงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส เบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ
เงินได้ประเภทที่ 2 ได้แก่ ค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า เงินอุดหนุนในงานที่ทำ เบี้ยประชุม บำเหน็จ โบนัส
เงินได้ประเภทที่ 3 ได้แก่ ค่าลิขสิทธิ์ ค่าสิทธิ พินัยกรรม คำพิพากษาของศาล
เงินได้ประเภทที่ 4 ได้แก่ ดอกเบี้ย เงินปันผล เงินส่วนแบ่งกำไร
เงินได้ประเภทที่ 5 ได้แก่ เงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน
เงินได้ประเภทที่ 6 ได้แก่ เงินได้จากวิชาชีพอิสระ วิชากฎหมาย การประกอบโรคศิลป วิศวกรรม สถาปัตยกรรม การบัญชี ประณีตศิลปกรรม หรือวิชาชีพอื่นซึ่งจะได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดชนิดไว้
เงินได้ประเภทที่ 7 ได้แก่ เงินได้จากการรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องลงทุนด้วยการจัดหาสัมภาระ
เงินได้ประเภทที่ 8 ได้แก่ เงินได้จากการธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่ง การขายอสังหาริมทรัพย์
ข้อยกเว้นการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
- บุคคลธรรมดาและผู้ถึงแก่ความตายมีเงินได้พึงประเมินเงินเดือนเพียงอย่างเดียวต่ำกว่า 120,000 บาทสำหรับคนที่มีสถานะโสด และ 220,000 บาท สำหรับคู่สมรส
- บุคคลธรรมดาและผู้ถึงแก่ความตายมีเงินได้พึงประเมินรายได้อื่นๆต่ำกว่า 60,000 บาทสำหรับคนที่มีสถานะโสด และ 120,000 บาทสำหรับคู่สมรส
- ห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล หรือคณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล มีเงินได้พึงประเมินต่ำกว่า 60,000 บาท
- กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง มีเงินได้พึงประเมินต่ำกว่า 60,000 บาท