วิเคราะห์ข้อดี-ข้อเสีย เมื่อถูกขอให้กู้ร่วม
สาเหตุหลักๆของการที่ทำให้เกิดการกู้ร่วมนั้นคือการที่ผู้กู้หลักไม่ผ่านการพิจารณาวงเงินที่ปล่อยกู้ อาจจะด้วยหลายๆสาเหตุอย่างการกู้ยืมเงินมาก่อนหน้านี้แล้ว หรือรายได้ไม่เพียงพอที่ผ่านเกณฑ์ของธนาคาร ทางธนาคารจึงจำเป็นที่จะต้องให้ผู้อื่นเป็นผู้กู้ร่วม เพื่อให้ทางธนาคารมั่นใจว่าหากผู้กู้หลักไม่สามารถชำระค่าผ่อนกับธนาคารได้ทางผู้กู้ร่วมจะเข้ามาช่วยในการชำระเงินให้แก่ทางธนาคาร
ดังนั้นเรามีโอกาสมากที่จะต้องถูกขอร้องเพื่อที่จะเข้ามากลายเป็นผู้กู้ร่วมกับคนที่เรารู้จักไม่ว่าจะเป็นพี่น้อง เพื่อนฝูง คู่รัก ก่อนที่เราจะคิดว่าจะกู้ร่วมหรือไม่ อยากผู้อ่านได้รู้ข้อมูลที่กำลังจะพูดถึงตอนนี้เสียก่อน
ประวัติการเงินดีหรือแย่ก็ต้องร่วมด้วยช่วยกัน
หลายๆคนคงคิดว่าเราไม่ได้ร่วมผ่อนเงินกับธนาคารด้วยกับผู้กู้หลัก การชำระเงินค่าผ่อนกับธนาคารจะไม่ส่งผลกระทบต่อผู้กู้ร่วม แต่ความจริงแล้วไม่ใช่เลย ประวัติการผ่อนชำระเงินของผู้กู้หลักจะส่งผลต่อการชำระเงินผู้กู้ร่วมด้วยโดยจะไปปรากฏอยู่ในเครดิตบูโรของผู้กู้ร่วมได้ย หากผู้กู้หลักผ่อนชำระเงินตรงเวลาไม่คิดบิดพลิ้ว จะส่งผลด้านดีต่อประวัติการชำระเงินของผู้กู้ร่วมด้วย แต่หากการชำระเงินของผู้กู้หลักมีประวัติการชำระเงินที่ล่าช้า ไม่ตรงเวลา ขาดส่งเงิน จะส่งผลเสียต่อประวัติการชำระเงินของผู้กู้ร่วมด้วย ซึ่งจะส่งผลต่อการกู้เงินของผู้กู้ร่วมในอนาคต
สามารถลดหย่อนภาษีได้ด้วย
อย่างที่ทุกคนทราบอยู่แล้วว่าการกู้ยืมเงินสำหรับการผ่อนที่อยู่อาศัยจะสามารถนำดอกเบี้ยมาลดหย่อนได้ ซึ่งตรงนี้ไม่ใช่เพียงแต่ผู้กู้หลักเท่านั้นที่จะสามารถนำดอกเบี้ยมาลดหย่อนได้ แต่ผู้กู้ร่วมก็ยังสามารถนำดอกเบี้ยมาลดหย่อนด้วยโดยจะแบ่งเท่าๆกัน ยกตัวอย่าง หากดอกเบี้ยสำหรับที่อยู่อาศัยอยู่ที่ 80,000 บาททั้งปี จะสามารถแบ่งดอกเบี้ยเพื่อลดหย่อนได้คนละ 50,000 บาท สิ่งที่ต้องคิดก็คือการลดหย่อนของดอกเบี้ยบ้านจะสามารถลดหย่อนไม่เกิน 1 แสนบาท ยกตัวอย่าง หากดอกเบี้ยการกู้ยืมเงินสำหรับที่อยู่อาศัยตกอยู่ที่ 150,000 บาท เราไม่สามารถนำยอด 150,000 บาทมาหารสองเพื่อลดหย่อนได้ เราจะสามารถนำมาคิดได้เพียง 100,000 บาท นั่นก็คือคนละ 50,000 บาทนั่นเอง
หลักประกันในการกู้ร่วม
อยากให้ผู้กู้ร่วมต้องพิจารณาหลักประกันให้ดีหากคิดที่จะให้กู้ร่วม มีเงื่อนไขการกำหนดกรรมสิทธิ์ที่แตกต่างกันหลายๆด้าน หากกำหนดว่าผู้กู้ร่วมไม่มีสิทธิ์ในกรรมสิทธิ์จะส่งผลให้อำนาจการตัดสินใจในการจัดการหลักประกันอยู่ที่ผู้กู้หลัก ซึ่งอาจจะเป็นประเด็นปัญหาในอนาคต
การกู้ร่วมนั้นถ้าหากไม่มีการผิดชำระหนี้ก็จะได้แต่สิ่งที่ดี แต่หากผิดชำระหนี้จะส่งผลเสี่ยต่อผู้กู้ร่วมมาก ดังนั้นหากถูกขอให้กลายเป็นผู้กู้ร่วมจะต้องพิจารณาให้ดีว่าผู้กู้หลักมีศักยภาพในการชำระหนี้มากน้อยเพียงใด