กราฟแท่งเทียน (candle stick) แบบฉบับเข้าใจง่ายสุดๆ

ช่วยแชร์ต่อนะครับ

กราฟแท่งเทียน (candle stick) ถูกพัฒนาโดย มุเนฮิสะ ฮอมมะ พ่อค้าข้าวชาวญี่ปุ่น ในศตวรรษที่ 18 มุเนฮิสะ ฮอมมะ เป็นพ่อค้าข้าวที่ร่ำรวยมากมีการจดบันทึกราคาข้าวโดยการใช้ กราฟแท่งเทียน (candle stick) ช่วยในการคาดการณ์ราคาข้าวด้วย ด้วยความเก่งในด้านการค้าทำให้เขาได้รับตำแหน่งเพิ่มกลายเป็น ที่ปรึกษาด้านการคลัง

ต่อมามีการเผยแพร่มาในฝั่งตะวันตกโดย Steve Nison ในหนังสือของเขาชื่อว่า  Japanese Candlestick Charting Techniques ปัจจุบันมีการใช้ กราฟแท่งเทียน (candle stick) อย่างแพร่หลายทั้งในส่วนของหุ้น สินค้าโภคภัณฑ์ ทองคำ น้ำมัน ค่าเงิน

ลักษณะของ กราฟแท่งเทียน (candle stick)

กราฟแท่งเทียน (candle stick) จะประกอบด้วย 2 ส่วนหลักคือ ตัวเทียน (Body) และ ไส้เทียน (Shadow)

ไส้เทียน (Shadow) จะประกอบไปด้วย ราคาสูงสุด (High Price) ซึ่งจะอยู่บ้างบน ราคาต่ำสุด (Low Price) จะอยู่ข้างล่าง

ตัวเทียน (Body) จะประกอบด้วย ราคาเปิด (Open Price) และ ราคาปิด (Close Price) สำหรับตัวเทียนเราจะสามารถระบุได้ว่าราคาเปิดมากกว่าปิดหรือปิดมากกว่าเปิดโดยดูจากสีของตัวเทียน (Body)
หากตัวเทียน (Body) สีเขียว ราคาเปิดจะอยู่ข้างล่าง ราคาปิดจะอยู่ข้างบน
หากตัวเทียน (Body) สีแดง ราคาเปิดจะอยู่ข้างบน ราคาปิดจะอยู่ข้างล่าง

การตีความเบื้องต้นสำหรับกราฟแท่งเทียน (candle stick)

  • หากกราฟแท่งเทียน (candle stick) สีแดงเยอะกว่าสีเขียว แปลว่ากราฟอยู่ในแนวโน้มขาลง (Downtrend)
  • กราฟแท่งเทียน (candle stick) สีเขียวเยอะกว่าสีแดง แปลว่ากราฟอยู่ในแนวโน้มขาขึ้น (Uptrend)
  • กราฟแท่งเทียน (candle stick) ไม่มีตัวเทียน (Body) เยอะแปลว่าอยู่แนวโน้มออกข้าง (Sideway)

ตัวอย่างกราฟแท่งเทียน (candle stick)แนวโน้มขาลง (Downtrend)

ตัวอย่างกราฟแท่งเทียน (candle stick)แนวโน้มข้าขึ้น (Uptrend)

ตัวอย่างกราฟแท่งเทียน (candle stick)แนวโน้มออกข้าง (Sideway)

วันนี้ก็จะคร่าว ๆ ประมาณนี้ก่อนนะครับ จริงๆแล้วเทคนิคการอ่านกราฟแท่งเทียน (candle stick) ยังมีอีกมาก ในวาระโอกาสหน้าเราจะมาเจาะลึกเทคนิคการอ่านกราฟแท่งเทียนแต่ละแบบกันครับ